1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยพันธุศาสตร์
Genetics Research Laboratory
ภาควิชา ชีววิทยา
2 ชื่อผู้ประสานงาน : รองศาสตราจารย์ ดร.ดาวรุ่ง กังวานพงศ์

3. สมาชิก :
1. รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพย์มณี ภะรตะศิลปิน
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริศนา จริยวิทยาวัฒน์
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หัทยา กาวีวงศ์

4. ปีที่เริ่มจัดตั้ง : พ.ศ. 2541

5. กิจกรรมของห้องปฏิบัติการวิจัยที่ได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมา :
 

5.1 ศึกษาพันธุศาสตร์ประชากร เพื่อดูอิทธิพลของวัฒนธรรมการโยกย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยหลังแต่งงานและการรับบุตรบุญธรรม ต่อความถี่ของอัลลีลบางอัลลีล ในชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ม้ง และ เย้า จากจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน โดยใช้ X-, Y-chromosomal microsatellites และ mitochondrial DNA
5.2 เปรียบเทียบโครงสร้างพันธุกรรมระหว่างชนกลุ่มน้อยในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย กลุ่มที่ใช้ภาษาตระกูลไท-ตะวันตกเฉียงใต้ (ไทลื้อ, ไทยวน, ไทยอง, ไทเขิน) กับกลุ่มที่ใช้ภาษาตระกูลมอญ-เขมร (ถิ่น, ปะหล่อง, ว้า, พล่าง) เพื่อค้นหาว่าบรรพชนของคนไทยปัจจุบันมาจากที่ใดกันแน่
5.3 วิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซม การเกิด micronucleus และดีเอ็นเอที่ถูกทำลายในเซลล์เม็ดเลือดขาวของประชากรที่มีความเสี่ยงสูง (จาก อ.สารภี) และมีความเสี่ยงต่ำ (จาก อ.จอมทอง) ต่อการเป็นมะเร็งปอด เนื่องจากได้รับมลพิษในสิ่งแวดล้อม
5.4 ศึกษาผลของสารกำจัดศัตรูพืช ต่อการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเซลล์มนุษย์
5.5 ศึกษาผลของสารเคมีต่อความปกติทางพันธุกรรมในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
5.6 การพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิค สำหรับการเรียนการสอนและการวิจัยทางพันธุศาสตร์


6. ประวัติผลงานที่ผ่านมานับตั้งแต่ก่อตั้งห้องปฏิบัติการวิจัย (เรียงลำดับก่อนหลังตามปี พ.ศ.) :
6.1 ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

 

(1) Activities and status of the Elephant Conservation Center of Lampang, Thailand. Jpn J Zoo Wildl Med, Vol.4(1), 1999, pp.39-43.
(2) Survey report on wild elephants at Huay Poo Ling, Mae Hong Son, Thailand with notes on their status. Jpn J Zoo Wildl Med, Vol.4(1), 1999, pp.65-71.
(3) Fluorescent in situ hybridization : A rapid analysis to verify chromosome aberrations. J Med Assoc Thai, Vol.83 (Suppl.1), 2000, pp. S76-S81.
(4) Y chromosome haplotypes reveal prehistorical migrations to the Himalayas. Human Genetics, Vol.107, 2000, pp.582-590. (อยู่ในฐานข้อมูล Science Citation Index)
(5) Y-chromosomal variation in uxorilocal and patrilocal populations in Thailand. Recent Advances in Human Biology, Vol.8, 2001, pp.69-82.

6.2 ผลงานวิจัยที่เสนอในที่ประชุมต่างๆ

 

(1) โครโมโซมผิดปกติและการพยากรณ์โรคในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดโลหิตขาวชาวไทย. สัมมนาวิชาการพันธุศาสตร์ ครั้งที่ 11, 6-8 ตุลาคม 2542, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา, ประเทศไทย
(2) คาริโอไทป์และลำดับเบสของไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอบริเวณ D-loop ในช้างเอเชีย (Elephas maximus). สัมมนาวิชาการพันธุศาสตร์ ครั้งที่ 11, 6-8 ตุลาคม 2542, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา, ประเทศไทย
(3) การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของโคขาวลำพูนโดยใช้ไมโครแซทเทลไลท์มาร์คเกอร์. การประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 4, 11-14 ตุลาคม 2543, พิษณุโลก, ประเทศไทย
(4) Genetic diversity and distance among the hill tribes of Northern Thailand. The 10th International Congress for Human Genetics, 15-19 May 2001, Vienna, Austria
(5) Y-chromosomal variation among the hill-tribes of Northern Thailand is influenced by cultural differences. Cold Spring Harbor Laboratory Meeting on Human Origins & Disease, 30 October-3 November 2002, New York City, U.S.A.
(6) Biomonitoring study and health risk assessment of populations residing in Chiang Mai with high risk of lung cancer. การประชุมวิชาการโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก, 25-27 เมษายน 2546, พัทยา, ประเทศไทย
(7) Genetic variation of patrilocal and matriocal populations is influenced by cultural differences. การประชุมวิชาการโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก, 25-27 เมษายน 2546, พัทยา, ประเทศไทย

6.3 ความร่วมมือ กับสถาบันต่างประเทศ

 

(1) Program for Population Genetics, Harvard School of Public Health, Boston, U.S.A. เริ่มมีความร่วมมือปี 2541 โดยมีแผนกิจกรรมดังข้อ 5.1
(2) Department of Medical Genetics, University of Ulm, F.R. of Germany เริ่มมีความร่วมมือปี 2543 โดยมีแผนกิจกรรมดังข้อ 5.3
(3) Department of Biology, University of Ferrara, Italy เริ่มมีความร่วมมือปี 2545 โดยมีแผนกิจกรรมดังข้อ 5.2

6.4 โครงการวิจัยที่ได้รับทุน

 

(1) โครงการ "การตอบสนองทางเซลล์พันธุศาสตร์ของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด chronic myelogenous leukemia ซึ่งได้รับการรักษาด้วยยา alpha-interferon" ทุนอุดหนุนการวิจัย จากเงินดอกผลกองทุนคณะวิทยาศาสตร์, งบประมาณ 80,000 บาท, ปีที่ได้รับ 2541-2542
(2) โครงการ "การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของโคขาวลำพูนโดยใช้ไมโครแซทเทลไลท์มาร์คเกอร์" ทุนBRT, สกว., งบประมาณ 1,449,987 บาท, ปีที่ได้รับ 2541-2543
(3) โครงการ "การติดตามผลทางชีวภาพและการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งปอด" ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ในการสร้างนักวิจัยระดับปริญญาเอก, สกว., งบประมาณ 300,000 บาท, ปีที่ได้รับ 2543-2545
(4) โครงการ "ความผันแปรของโครโมโซม Y ของชาวกะเหรี่ยง ม้ง และเย้า ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์ไมโครแซทเทลไลท์" ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ในการสร้างนักวิจัยระดับปริญญาเอก, สกว., งบประมาณ 300,000 บาท, ปีที่ได้รับ 2544-2545
(5) โครงการ "การผลิตสื่อการเรียนการสอน กระบวนวิชา 202231 (พันธุศาสตร์ 1) ทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์, งบประมาณ 20,000 บาท, ปี่ที่ได้รับ 2544-2545
(6) โครงการ "ความผันแปรของดีเอ็นเอไมโทคอนเดรียในประชากรชาวไทยวนและไทลื้อ ซึ่งอาศัยอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย" ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ในการสร้างนักวิจัยระดับปริญญาเอก, สกว., งบประมาณ 300,000 บาท, ปีที่ได้รับ 2545-2547
(7) โครงการ "ผลทางพันธุพิษของยากำจัดศัตรูพืชต่อลิมโฟไซต์ของเกษตรกรอำเภอสารภีและจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่" ทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์, งบประมาณ 80,000 บาท, ปีที่ได้รับ 2545-2546

7. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการในปีที่ผ่านมา
7.1 ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

 

(1) การเตรียมสีย้อมโครโมโซมสำหรับการเรียนการสอน จากพืชท้องถิ่นไทย, วารสารวิทยาศาสตร์, 2546 (in press)หมายเหตุ กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการจดสิทธิบัตรสีย้อมโครโมโซม

7.2 ผลงานวิจัยที่เสนอในที่ประชุมต่างๆ

  (1) Y-chromosomal variation among the hill-tribes of Northern Thailand is influenced by cultural differences. Cold Spring Harbor Laboratory Meeting on Human Origins & Disease, 30 October-3 November 2002, New York City, U.S.A.
(2) Biomonitoring study and health risk assessment of populations residing in Chiang Mai with high risk of lung cancer. การประชุมวิชาการโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก, 25-27 เมษายน 2546, พัทยา, ประเทศไทย
(3) Genetic variation of patrilocal and matriocal populations is influenced by cultural differences. การประชุมวิชาการโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก, 25-27 เมษายน 2546, พัทยา, ประเทศไทย

7.3 การมีความร่วมมือของห้องปฏิบัติการวิจัยกับสถาบันต่างประเทศ
เหมือนข้อ 6.3

7.4 โครงการวิจัยที่ได้รับทุน

 

(1) โครงการ "การผลิตสื่อการเรียนการสอน กระบวนวิชา 202231 (พันธุศาสตร์ 1) ทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์, งบประมาณ 20,000 บาท, ปี่ที่ได้รับ 2544-2545
(2) โครงการ "ความผันแปรของดีเอ็นเอไมโทคอนเดรียในประชากรชาวไทยวนและไทลื้อ ซึ่งอาศัยอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย" ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ในการสร้างนักวิจัยระดับปริญญาเอก, สกว., งบประมาณ 300,000 บาท, ปีที่ได้รับ 2545-2547
(3) โครงการ "ผลทางพันธุพิษของยากำจัดศัตรูพืชต่อลิมโฟไซต์ของเกษตรกรอำเภอสารภีและจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่" ทุนอุดหนุนการวิจัย จากคณะวิทยาศาสตร์, งบประมาณ 80,000 บาท, ปีที่ได้รับ 2545-2546

7.5 บูรณาการกิจกรรมวิจัยร่วมกับการเรียนการสอนทุกระดับ

 

(1) วิทยานิพนธ์นักศึกษาระดับปริญญาเอก นส. วรภา หีบจันทร์ตรี เรื่อง การติดตามผลทางชีวภาพและการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งปอด คณาจารย์ผู้ดูแลงานวิจัย ได้แก่ รศ. ดร. ดาวรุ่ง กังวานพงศ์, รศ. ดร. ทิพย์มณี ภะรตะศิลปิน และ Prof. Dr. Guenter Speit
(2) วิทยานิพนธ์นักศึกษาระดับปริญญาเอก นาย เมธวี ศรีคำมูล เรื่อง ความผันแปรของโครโมโซม Y ของชาวกะเหรี่ยง ม้ง และเย้า ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์ไมโครแซทเทลไลท์ คณาจารย์ผู้ดูแลงานวิจัย ได้แก่ รศ. ดร. ดาวรุ่ง กังวานพงศ์, อ. ดร. สุภาพร นาคบัลลังก์ และ Asst. Prof. Dr. Mark Seielstad
(3) วิทยานิพนธ์นักศึกษาระดับปริญญาเอก นาย จตุพล คำปวนสาย เรื่อง ความผันแปรของดีเอ็นเอไมโทคอนเดรียในประชากรชาวไทยวนและไทลื้อ ซึ่งอาศัยอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย คณาจารย์ผู้ดูแลงานวิจัย ได้แก่ รศ. ดร. ดาวรุ่ง กังวานพงศ์, อ. ดร. สุภาพร นาคบัลลังก์ และ Asst. Prof. Dr. Giorgio Bertorelle
(4) วิทยานิพนธ์นักศึกษาระดับปริญญาโท นาย จินตพัฒน์ นทีวัฒนา เรื่อง ผลทางพันธุพิษของแลนเนทต่อลิมโฟไซต์ของเกษตรกรอำเภอสารภีและจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการทดสอบไมโครนิวเคลียส คณาจารย์ผู้ดูแลงานวิจัย ได้แก่ รศ. ดร. ดาวรุ่ง กังวานพงศ์ และ ผศ. หัทยา กาวีวงศ์
(5) วิทยานิพนธ์นักศึกษาระดับปริญญาโท นส. พิสมัย คลังสินกุล เรื่อง ผลทางพันธุพิษของแลนเนทต่อลิมโฟไซต์ของเกษตรกรอำเภอสารภีและจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ คณาจารย์ผู้ดูแลงานวิจัย ได้แก่ ผศ. หัทยา กาวีวงศ์ และ รศ. ดร. ดาวรุ่ง กังวานพงศ์
6) ปัญหาพิเศษนักศึกษาระดับปริญญาตรี นายเอกพงศ์ รู้ทำนอง เรื่อง โครงสร้างพันธุกรรมของชาวปะหล่องและชาวพล่าง อาจารย์ผู้ดูแลงานวิจัย ได้แก่ รศ. ดร. ดาวรุ่ง กังวานพงศ์
(7) ปัญหาพิเศษนักศึกษาระดับปริญญาตรี นส. อัมพิกา อินทะนุ เรื่อง ผลของด่างทับทิมต่อโครโมโซมปลายรากหอมแดง อาจารย์ผู้ดูแลงานวิจัย ได้แก่ รศ. ดร. ทิพย์มณี ภะรตะศิลปิน
(8) ปัญหาพิเศษนักศึกษาระดับปริญญาตรี นส. ปิยะธิดา ศรีแก้ว เรื่อง ผลของผงชูรสต่อโครโมโซมปลายรากหอมแดง อาจารย์ผู้ดูแลงานวิจัย ได้แก่ รศ. ดร. ทิพย์มณี ภะรตะศิลปิน
(9) ปัญหาพิเศษนักศึกษาระดับปริญญาตรี นายกัมพล พงศ์ศิราลัย เรื่อง การศึกษาไมโอซิสในตั๊กแตน อาจารย์ผู้ดูแลงานวิจัย ได้แก่ ผศ. ปริศนา จริยวิทยาวัฒน์

8 แผนดำเนินการและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการด้านต่างๆ ในรอบปีที่คาดว่าจะได้รับการต่ออายุ

 

8.1 จะมีผลสัมฤทธิ์ของโครงการวิจัยที่ (3) และ (4) ที่ระบุไว้ในข้อ 6.4 ซึ่งเสร็จสิ้นแล้ว โดยการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารระดับนานาชาติอย่างน้อย 3 เรื่อง
8.2 ดำเนินการวิจัยต่อเนื่องของโครงการที่ (5) และ (6) ที่ระบุไว้ในข้อ 6.4 และ 7.2
8.3 ขอทุนวิจัยเพิ่มเติมอีก 1 ทุน สำหรับโครงการ "การตรวจกรองความไม่เสถียรของจีโนมในประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอุบัติการของมะเร็งปอดสูง