1. ชื่อหน่วยวิจัย หน่วยวิจัยกระดาษสา
Mulberry Paper Research Unit
ภาควิชา เคมี
2. ชื่อผู้ประสานงาน อ.ดร.วิมล นาคสาทา

3. สมาชิก
อ.ดร.สุนันทา วังกานต์
อ.ชมนาด สวาสดิ์มิตร

4. ปีที่เริ่มจัดตั้ง 2544

5. กิจกรรมของหน่วยวิจัยที่ได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมา
5.1 พัฒนาวิธีการเตรียมเยื่อสาโดยอัลคาไลน์เปอร์ออกไซด์ โดยการเติมสารเพิ่มความเสถียร
5.2 ทำการหาปริมาณและลักษณะเฉพาะของลิกนินและแว๊กซ์ในน้ำต้มเปลือกสา เพื่อเป็นแนวทางการบำบัดน้ำต้มเปลือกสาและนำลินินที่ได้จากน้ำเสียไปใช้ประโยชน์
5.3 พัฒนากระดาษสาให้มีคุณสมบัติทนไฟ

6. ประวัติผลงานที่ผ่านมานับแต่ก่อตั้งหน่วยวิจัย
6.1 ผลงานวิจัยที่เสนอในที่ประชุมระดับชาติ
      1) S. Somnam, W. Sangthong and W. Saiyasombat, Mulberry Pulp Preparing, 27th Congress on Science and Technology of Thailand, Hat Yai, Songkla, Thailand, 2001.

6.2 โครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุน
      1) การพัฒนาวิธีการเตรียมเยื่อสาโดยอัลคาไลน์เปอร์ออกไซด์ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ประจำปี 2544 จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวนเงิน 25,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี

7. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการในปีที่ผ่านมา
7.1 ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
      1) S. Saipanya, R. Watanesk, W. Saiyasombat and S. Wangkarn, Optimal Conditions for Lignin Coagulation in Lignin Contaminated Water, Chiang Mai J. Sci., (in press).


7.2 โครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุน
      1) การพัฒนากระดาษสาให้มีคุณสมบัติทนไฟ จากฝ่ายเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายภาคเหนือ จำนวนเงิน 200,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี พ.ศ.2545

7.3 กิจกรรมวิจัยปัญหาพิเศษ
      1) การหาปริมาณและลักษณะเฉพาะของลิกนินและแว๊กซ์ในน้ำต้มเปลือกสา
          รายชื่อนักศึกษา นางสาวณัฐกา เตชนันท์ นางสาวศศิธร เต็มสี
          อาจารย์ผู้กำกับดูแล อ.ดร.วิมล ไสยสมบัติ
      2) การศึกษาผลของโซเดียมซิลิเกตที่ใช้ในกระบวนการฟอกสีของเปลือกสา
          รายชื่อนักศึกษา นางสาวปนัดดา ภักดี นายชาตรี บวรกิจ
          อาจารย์ผู้กำกับดูแล อ.ชมนาด สวาสดิ์มิตร

8. แผนการดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการด้านต่างๆในรอบปีที่คาดว่าจะได้รับการต่ออายุ
8.1 ทราบผลของสารเพิ่มความเสถียรที่มีต่อการทำงานของอัลคาไลน์เปอร์ออกไซด์
8.2 สามารถหาปริมาณและลักษณะเฉพาะของลิกนินและแว๊กซ์ในน้ำต้มเปลือกสา และทราบวิธีการตกตะกอนลิกนินในน้ำต้มเปลือกสาโดยใช้ H2SO4 และจะทำการตกตะกอนลิกนินในน้ำต้มเปลือกสาโดยใช้กรดชนิดอื่น เพื่อเป็นแนวทางการบำบัดน้ำต้มเปลือกสาและนำลินินที่ได้จากน้ำเสียไปใช้ประโยชน์ในการเตรียมกาว
8.3 จะทำการพัฒนาคุณสมบัติการทนไฟของกระดาษสาโดยการชุบและพ่นเคลือบด้วยสารทนไฟชนิดต่างๆ จะหาวิธีการและสภาวะที่เหมาะสมในการชุบพ่นเคลือบสารทนไฟที่มีประสิทธิภาพ และทดสอบคุณสมบัติการติดไฟและการลามไฟของกระดาษสาที่เตรียมได้