1. ชื่อหน่วยวิจัย : ดาราศาสตร์โฟโตเมตรี
Astronomical Photometry Research Unit
ภาควิชา ฟิสิกส์

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

(1) นายบุญรักษา สุนทรธรรม ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย
(2) นายสุมิตร นิภารักษ์ สมาชิก
(3) มล.อนิวรรต สุขสวัสดิ์ สมาชิก
(4) นายวิม เหนือเพ็ง สมาชิก
(5) นายมาโนช นาคสาทา สมาชิก
(6) นายวิเชียร ไกรวัฒนวงศ์ สมาชิก
(7) นายสมสวัสดิ์ รัตนสูรย์ สมาชิก
(8) นายอาทิตย์ ลภิรัตนากูล สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล
ภภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตั้งหอดูดาวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2520 โดยมีอุปกรณ์หลักคือ กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสงชนิดคาสซิเกรน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4 เมตร ทางกลุ่มวิจัยดาราศาสตร์ ได้พยายามพัฒนาเทคนิคและ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อสามารถใช้กล้องดูดาวดังกล่าวในการวิจัยได้ งานวิจัยที่ได้ดำเนินไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถึงปัจจุบันนั้น มี 2 ลักษณะ คือ งานวิจัยของคณาจารย์ในกลุ่มดาราศาสตร์ โดยขอรับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนต่าง ๆ ในการวิจัย และงานวิจัยของนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
งานวิจัยหลักที่ดำเนินการในขณะนี้ก็คือ การใช้ระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี ร่วมกับกล้องดูดาว ในการวิเคราะห์คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของวัตถุท้องฟ้าชนิดต่าง ๆ เช่น ดาวคู่ กระจุกดาว ดาวหาง สารที่อยู่ระหว่างดาว เป็นต้น งานวิจัยทางด้านโฟโตเมตรีนี้ได้รับการพัฒนาโดยกลุ่มดาราศาสตร์อย่างต่อเนื่อง มีการจัดหากล้องดูดาวขนาดต่าง ๆ เครื่องวัดที่ทันสมัย ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุม สัญญาณและเก็บข้อมูล ตลอดจนการพัฒนาเทคนิคทันสมัย มาใช้ในการวิจัยทางโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดตั้งหน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี ทำให้เห็นทิศทางของงานวิจัยในแขนงดาราศาสตร์ ของภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในอันที่จะนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในศาสตร์แขนงนี้ การสนับสนุนให้หน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพของคณะวิทยาศาสตร์ จึงนับว่าเป็นสิ่งที่ทางกลุ่มดาราศาสตร์มีความต้องการอย่างยิ่ง

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เพื่อรวมกลุ่มนักวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ที่มีทักษะความชำนาญทางด้านการใช้เทคนิคทางโฟโตเมตรี
ในการศึกษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของวัตถุท้องฟ้าชนิดต่าง ๆ ตลอดทั้งการร่วมกันวิจัยและพัฒนาเพื่อให้งานดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ

5. งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่
งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่ ได้แก่ การใช้เทคนิคทางโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี ศึกษาวัตถุท้องฟ้า โดยมุ่งเน้น ดาวคู่อุปราคา (Eclipsing Binaries) ซึ่งจะศึกษาลักษณะทางกายภาพ กราฟแสง องค์ประกอบวงโคจรของดาวคู่เหล่านี้ และขณะนี้ทางกลุ่มวิจัยดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำความร่วมมือกับกลุ่มวิจัยจาก Yunnan Observatory ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยดาวคู่ดังกล่าวนี้
กลุ่มวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี ได้รับทุนวิจัยร่วมระหว่าง ไทย-จีน จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ National Natural Science Foundation of China ในการวิจัยเรื่อง "Analysis of Physical properties and Evolutions of Some Near-Contact Binary Star System" ระหว่างปี 2543-2545

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
6.1 กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง ชนิดริชชี-เครเทียน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 เมตร
6.2 กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง ชนิดคาสซิเกรน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4 เมตร
6.3 กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง ชนิดชมิดท์-คาสซิเกรน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.275 เมตร และ 0.2 เมตร
6.4 ระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตมิเตอร์ แบบหลอดโฟโตมัลติพลายเออร์ของ University of Nebraska, Lincoln, U.S.A. ที่มอบให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมระบบแผ่นกรองแสงมาตราฐาน B, V (Wide Band) และ u,v,b,y (Intermediate Band)
6.5 ระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตมิเตอร์ แบบโซลิดสเตทของบริษัท Optec Inc. พร้อมระบบแผ่นกรองแสงมาตราฐาน U, B, V, R, I
6.6 ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมและบันทึกสัญญาณจากระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตมิเตอร์
6.7 ระบบ CCD ที่ใช้ในการควบคุมระบบติดตามดาวและถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าโดยคอมพิวเตอร์
-Photometrics
-Compuscope
- Apogee
6.8 ระบบการติดต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
6.9 ระบบ CCD Spectrograph

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัย ระหว่างปี พ.ศ.2545-2546
7.1 โครงการวิจัยและการดำเนินงาน
7.1.1 หน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี ได้ทำการวิจัยตามโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศ (ไทย-จีน) ในหัวข้อ "การวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและการวิวัฒนาการของระบบดาวคู่แบบเกือบแตะกันบางระบบ" กับคณะนักวิจัยจากหอดูดาวยูนนาน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2542 บัดนี้ได้ดำเนินการวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้วตามกำหนดและได้ส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ให้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว ซึ่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ดังกล่าวได้รับการพิจารณาจากคณะผู้ติดตามและประเมินผลการวิจัยทางวิชาการแล้วว่าเป็นรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ระดับดี (ตามหนังสือที่ วช 0004.1/815 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546)

7.1.2 รศ. บุญรักษา สุนทรธรรมได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาโครงการวิจัย เรื่อง "การศึกษาด้านทัศนศาสตร์ สำหรับการตั้งกล้องโทรทรรศน์ ณ เขาสมอแครง" ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (หนังสือที่ ทม 1904/2692)

7.2 ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
7.2.1 Shengbang Qian, Dengliang Liu, Wenli Tan, and Boonrucksar Soonthornthum, "Is the Algol-Type Eclipsing Binary RX Geminorum a True Triple System?" ตีพิมพ์ : Publications of the Astronomical Society of the Pacific, 114, 766-769,2002 July.
7.2.2 Shengbang Qian, Dengliang Liu, Wenli Tan, and Boonrucksar Soonthornthum, "YY Geminorum : A Very Late Type Close Binary With Possible Magnetic Stellar Wind." ตีพิมพ์ : The Astronomical Journal, 124 : 1060-1063, 2002 August.
7.2.2 Qian, S.,B., Boonrucksar, S., "Orbital Period Study of the Algol-type Eclipsing Binary System TW Draconis." ตีพิมพ์ : New Astronomy, 7, 435-439 (2002)- October 2002
7.2.2 S.B. Qian , L.Y. Liu and S.Boonrucksar, "Interior Structura Variations in the Secondary Components of two Algol-type Eclipsing Binary Systems: SW Cygni and RR Draconis" ตีพิมพ์ : Astronomy and Astrophysics Journal, 396 : 609-613 (2002)

7.3 การพัฒนาหอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7.3.1 หน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรีได้รับการจัดสรรงบประมาณจากโครงการเงินกู้ ธนาคารโลกเพื่อจัดซื้อกล้องดูดาวเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และ การบริการวิชาการแก่ชุมชน ดังนี้
- กล้องดูดาว แบบ Schmidt-Cassegrain ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 เมตร
- กล้องดูดาว แบบ Schmidt-Cassegrain ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2 เมตร
- กล้องดูดาว แบบ Maczutov-Cassegrain ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2 เมตร
- กล้องดูดาว แบบ Schmidt-Newtonian ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2 เมตร
- กล้องดูดาว แบบ หักแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2 เมตร
7.3.2 หน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรีได้รับการบริจาคจากโครงการ Think Earth และการสนับสนุนเพิ่มเติมจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการสร้างอาคารหอดูดาวเพิ่มเติม ณ หอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่