1. ชื่อหน่วยวิจัย : | ฟิสิกส์บรรยากาศ Atmospheric Physics |
ภาควิชา | ฟิสิกส์ |
2. ชื่อผู้ประสานงาน
รศ.ดร. เจียมใจ เครือสุวรรณ
3. สมาชิก
ก. อาจารย์
1. อ. วัลย์ชัย
พรมโนภาศ
ข. นักศึกษาปริญญาโท
1. นายสิทธิเดศ
ศรีน้อย
2. นางสาวทิพย์สุคนธ์
คุ้มแสง
4. ปีที่เริ่มจัดตั้ง พ.ศ. 2545
5. กิจกรรมของห้องปฏิบัติการวิจัย/หน่วยวิจัย
ที่ได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมา
- สิงหาคม พ.ศ. 2545 อ.วัลย์ชัย พรมโนภาศ
เดินทางไปฝึกอบรมเรื่อง Scientific Supercomputing in Climate Research ที่ University
of Potsdam , Berlin ประเทศเยอรมัน โดยได้รับเชิญจาก Helmholtz Institute for Supercomputational
Physics
- กันยายน พ.ศ. 2545 รศ.ดร. เจียมใจ
เครือสุวรรณ เดินทางไปดูงานที่สถาบันต่าง ๆ ในประเทศอังกฤษ และประสานงานวิจัยที่
Max Planck Institute for Meteorology ประเทศเยอรมัน
- มกราคม พ.ศ. 2546 จัดสัมมนาพิเศษ โดยเชิญ
Dr. John Green, Senior researcher ที่ University of East Anglia ประเทศอังกฤษ
มาสัมมนา และบรรยาพิเศษเกี่ยวกับ Atmospheric Dynamics ที่ ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มีนาคม พ.ศ. 2546 รศ.ดร. เจียมใจ เครือสุวรรณ
และ อ.วัลย์ชัย พรมโนภาศ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์งานวิจัยทางด้าน Air Pollution
modeling ที่ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา
6. ประวัติผลงานที่ผ่านมานับตั้งแต่ก่อตั้ง
ห้องปฏิบัติการวิจัย/หน่วยวิจัย (เรียงลำดับก่อนหลังตามปี พ.ศ.)
1. ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
2.
ผลงานวิจัยที่เสนอในที่ประชุมต่าง ๆ
ก. Nakapan S. and Kreasuwan J., "Modeling
of the Atmoshperic Boundary-Layer Flow in the Northern of Thailand", the
28th Congress on Science and Technology of Thailand, Bangkok, Thailand, October
2002.
ข. Promnopas W. and Kreasuwan J., "Limited
Area Climate Modeling for Northern and North-Eastern Regions of Thailand ",
the 28th Congress on Science and Technology of Thailand, Bangkok, Thailand,
October 2002.
3.
ความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศ
- ร่วมมือกับ Dr. Daniela Jacob จาก
Max Planck Institute for Meteorology (MPI) ประเทศเยอรมัน
4.
โครงการวิจัยที่ได้รับทุน
ทุนพัฒนาอาจารย์ ทุนอุดหนุนทั่วไป ประจำปี
2545 จากทบวงมหาวิทยาลัย มี 2โครงการ คือ
1. โครงการ "การศึกษาวิจัยการแปรผันของสภาพอากาศในเขตร้อนชื้น"
ของ รศ.ดร. เจียมใจ เครือสุวรรณ งบประมาณ 584,750.00 บาท
2. โครงการ "ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์
และการจำลองเหตุการณ์ของการแปรผันและการ พยากรณ์ ลมมรสุมในเขตอาเชีย " ของ
อ. วัลย์ชัย พรมโนภาศ งบประมาณ 633,250 บาท
7. ผลงานสัมฤทธิ์ทางวิชาการที่ผ่านมา
- ได้ดำเนินการฝึกฝนการใช้ CALPUFF Air
Pollution Modeling ที่ เมือง Denver ประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงวันที่ 20-31 มีนาคม
พ.ศ. 2546 ขณะนี้กำลังทดลองฝึกฝน ปรับให้เข้ากับสภาวะมลภาวะอากาศในประเทศไทย และจะดำเนินการวิเคราะห์มลภาวะอากาศในเชียงใหม่
และภาคเหนือของประเทศไทย
- อยู่ในระยะเตรียมรวบรวมข้อมูล และฝึกฝนการใช้แบบจำลอง
งานวิจัยที่จะทำ เป็นงานวิจัยที่ดำเนินการร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ ณ ต่างประเทศ ซึ่งเดิมมีการกำหนดการจะไปดำเนินการวิจัยที่
MPI เยอรมัน ในช่วงนี้ แต่เนื่องจากภาวะสงครามสหรัฐอเมริกาและต่อเนื่องจากโรคระบาดปอดบวมอักเสบ
(SARS) ทางนักวิทยาศาสตร์เจ้าภาพขอให้เลื่อนการดำเนินการไปประมาณ มิถุนายม 2546
ระยะนี้จึงอยู่ในขั้นตอนการเก็บข้อมูลสภาพอากาศ ภูมิประเทศ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น
- วิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท
1. นายศุภชัย นาคะพันธ์
เรื่อง การหมุนเวียนอากาศในเชียงใหม่
2. นายสิทธิเดศ ศรีน้อย
เรื่อง การจำลองแบบสภาพอากาศเชิงตัวเลขบริเวณเทือกเขาถนนธงชัย
3. นางสาวทิพย์สุคนธ์ คุ้มแสง
เรื่อง การจำลองแบบสภาพอากาศเขตบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง
4. นายสุมิตร จิรังนิมิตสกุล
เรื่อง มลภาวะอากาศในเชียงใหม่
8. แผนดำเนินการและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการด้านต่าง
ๆ ในรอบปีที่คาดว่าจะได้รับการต่ออายุ
ก. เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ทาง
Regional Climate Modeling ที่ สหรัฐอเมริกา และเยอรมันของอาจารย์ในสาขาวิชาฟิสิกส์บรรยากาศ
ข. วิเคราะห์มลภาวะอากาศในเชียงใหม่
และจังหวัดใกล้เคียง
ค. วิเคราะห์สภาวะการแปรปรวนของบรรยากาศในเชียงใหม่
และภาคเหนือของประเทศ
ง. เชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศทาง Coupled
Atmoshpere - Ocean Modeling หรือ Dispersion Modeling มาบรรยากาศพิเศษ ที่ ภาควิชาฟิสิกส์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่