1. ชื่อหน่วยวิจัย : | หน่วยวิจัยฟิสิกส์สิ่งแวดล้อม Environmental Physics Research Unit |
ภาควิชา | ฟิสิกส์ |
2. ชื่อผู้ประสานงาน อ.
วัลย์ชัย พรมโนภาศ
3. สมาชิก
1. รศ.ดร. เจียมใจ เครือสุวรรณ
2. นาย ศุภชัย นาคะพันธ์
3. นาย สุมิตร จิรังนิมิตสกุล
4. หลักการและเหตุผล
เนื่องจากว่าในสภาวะปัจจุบันปัญหาของสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก
ส่งผลกระทบหลายๆอย่าง ตัวอย่างเช่น ผลกระทบที่เกิดจากอากาศเป็นพิษของพื้นที่ในย่านของที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม
หรือในเขตชุมชนเมือง ซึ่งเกิดมาจากการแพร่กระจายของสารมลพิษจากแหล่งกำเนิดต่างๆ
ซึ่งพฤติกรรมและความสามารถในการแพร่กระจายของสารพิษดังกล่าว นอกจากจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของแหล่งกำเนิดสารมลพิษ
ชนิดของสารมลพิษที่ถูกปล่อยออกมา ดังกล่าวแล้วยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสภาวะอากาศขณะนั้นด้วยว่า
มีสภาวะเป็นอย่างไร สนับสนุนการแพร่กระจายของสารมลพิษหรือไม่ นอกจากนี้สารมลพิษที่แพร่กระจายอยู่ในบรรยากาศยังสามารถที่จะทำปฏิกิริยาเคมีเนื่องจากแสงแดดก่อให้เกิดสารมลพิษชนิดใหม่เกิดขึ้น
(secondary pollutant ) สารมลพิษบางชนิดที่กระจายตัวในบรรยากาศ รวมกับน้ำในอากาศส่งผลให้เกิดฝนที่มีความเป็นกรด
(acid rain) พร้อมกันนี้สารมลพิษบางชนิด ยังมีผลต่อปรากฏการณ์เรือนกระจก(Greenhouse
Effect) ทำให้อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นได้
การศึกษาและวิจัย ต้องอาศัยองค์ความรู้พื้นฐานและระดับสูงทางด้าน
ฟิสิกส์บรรยากาศ เทอร์โมไดนามิกส์ อุตุนิยมวิทยา Air Pollution ประกอบกันเพื่อ
ที่จะสร้างแบบจำลอง (Mathematical Model) ทางคณิตศาสตร์ มาอธิบายหรือศึกษาความเป็นไปได้ต่างๆ
กับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพื่อที่จะหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคต
5. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เพื่อศึกษา สาเหตุของปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง
โดยการศึกษาและสร้างแบบจำลองการกระจายตัวของสารพิษในบรรยากาศและปรับใช้ได้ในปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่จริงๆ
รวมทั้งสามรถคำนวณหาความเข้มข้นของสารมลพิษที่แพร่กระจายไป ณ ตำแหน่งต่างๆโดยใช้แบบจำลองเพื่อที่จะได้หาแนวทางป้องกันและแก้ไขได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที
6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่
1. CALPUFF MODELS 2. เครื่องมือวัดโอโซน
7. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการในปีที่ผ่านมา
1. Puranapan, K., and Kreasuwun, J.,
1998: Variation of Surface Ozone in Chiang Mai. Proceedings of The International
Symposium on Tropospheric Ozone in East Asia and Its potentials Impact on Vegetation,
Tokyo, p 41-43.
2. Pochanart, P., Kreasuwun, J., et
all.,2001: Tropical Tropospheric Ozone Observed in Thailand. Atm. Environ.,
35(15):1352-2310.
3. Nakapan S. and Kreasuwun J., "Modeling
of the Atmospheric Boundary-Layer Flow in the Northern of Thailand", the
28th Congress on Science and Technology of Thailand, Bangkok, Thailand, October
2002.
4. Promnopas W. and Kreasuwun J., "Limited
Area Climate Modeling for Northern and North-Eastern Regions of Thailand",
the 28th Congress on Science and Technology of Thailand, Bangkok, Thailand,
October 2002.
5.
เดือนมีนาคม 2546 รศ.ดร. เจียมใจ เครือสุวรรณ และ อ. วัลย์ชัย พรมโนภาศ ได้เข้าร่วมทำการวิจัยเกี่ยวกับ
Calpuff Modeling ที่เมืองเดนเวอร์ รัฐ โคโรลาโด ประเทศสหรัฐอเมริกา
8. แผนการดำเนินการและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการด้านต่างๆในรอบปี
แผนการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ
1. นำองค์ความรู้ด้านต่างๆมาศึกษาร่วมกัน
2. ดำเนินการเกี่ยวกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และทำการทดสอบแบบจำลอง
3. ลงพื้นที่เพื่อศึกษาและเก็บข้อมูล
4. วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลจากแบบจำลองกับปัญหาจริง