การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน                             
1 ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์

มิติใหม่ของการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย : หัวใจแห่งการพัฒนาชาติ เกี่ยวข้องโดยตรงกับห้องสมุดที่มีชีวิตเนื่องจากระบบการเรียนการสอนปัจจุบันอยู่ให้มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทุกประเภทเป็นที่ศึกษาค้นคว้า ส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่หาความรู้ได้ด้วยตนเอง ผสมผสานกับการที่ห้องสมุดพยายามสร้างบรรยากาศให้การสืบค้นสารสนเทศภายในมีคุณภาพมีชีวิต และมีข้อมูลข่าวสารที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา เป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกเพลิน คือได้ทั้ง Play และ learn ในขณะเดียวกัน อีกทั้งการจัดวบริการทรัพยากรสารนิเทศหลากหลายรูปแบบใหม่และทันสมัย เพิ่มความรู้สึกที่ดีต่อการรับบริการ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจที่จะใช้บริการได้รับประโยชน์จากบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด ทั้งอาหาร สมอง อาหารตา อาหารใจ เป็นภาพของผู้ให้และผู้รับช่วยกันพัฒนาห้องสมุดให้มีชีวิตที่สมบูรณ์ เป็นความสมบูรณ์ของ Knowledge Based Society โดยจะตรวจสอบผลการดำเนินการให้บริการในระบบห้องสมุด โดยสรุปดังนี้
1. ผลการบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง - การจัดบริการแก่ผู้ใช้ภายในห้องสมุดกว่า 132,483 รายต่อปี
- จัดให้มีการสืบค้นข้อมูลเครือข่ายห้องสมุดด้วยคอมพิวเตอร์กว่า 35 จุดบริการ รวมผู้ใช้ 35,000 ราย
- การให้บริการข้อมูลเฉพาะเรื่องจากแฟ้มข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 700 แฟ้มหัวเรื่อง
2. ผลการพัฒนาระบบทรัพยากรสารสนเทศ
- การพัฒนาการสร้างฐานข้อมูลเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ 5 ฐานเพื่อให้บริการบน Homepage ของห้องสมุด อาทิ ฐานข้อมูล Website ที่น่าสนใจ
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์
ฐานข้อมูลปัญหาพิเศษปริญญาตรี
ฐานข้อมูลโครงงานวิจัยอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ฐานข้อมูลสิ่งพิมพ์รัฐบาล
- จัดทำเอกสารเผยแพร่การใช้ข้อมูลด้านห้องสมุด เช่น ข่าวสารน่ารู้จากห้องสมุด โดยใช้ บริการสามารถอ่านข้อมูลผ่าน Homepage ของห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ได้ทุกเดือน เป็นประจำ
3. ผลการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
- ภาพรวมการให้บริการได้มีการพัฒนาการให้บริการสืบค้นข้อมูลสารนิเทศในระบบ Online โดยการจัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยเพื่อสนองความจำเป็นนี้ อีกทั้งการจัดหาสื่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการสืบค้นสารนิเทศได้รวดเร็ว โดยห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ได้จัดหาวารสารอิเล็กทรอนิกส์ AIP/APS ในสาขาฟิสิกส์ ผู้ใช้สามารถสืบค้นวารสารในระบบ Online กว่า 10 รายชื่อ รวมถึงการสืบค้นฐานข้อมูลเฉพาะสาขาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่า 15 ฐานข้อมูลด้วย

สถิติการรับบริการและสืบค้นสารสนเทศต่าง ๆ ในห้องสมุดประจำปี 2546 (ตุลาคม 2545-กันยายน 2546) มีดังนี้

รายการ

หน่วยนับ

จำนวน

1. การบริการทั่วไป

1.1 จำนวนหนังสือทั้งหมดในห้องสมุด    
- หนังสือภาษาไทย

เล่ม

18,280

- หนังสือภาษาต่างประเทศ

เล่ม

34,073

1.2 ผู้เข้าใช้บริการ

วันจันทร์ – ศุกร์

คน

90,825

วันเสาร์ – อาทิตย์

คน

972

1.3 บริการทำบัตรสมาชิก

คน

245

1.4 บริการให้ยืม

หนังสือ

เล่ม

82,435

วารสาร (ถ่ายเอกสาร)

ฉบับ

79

หนังสือพิมพ์

ฉบับ

3,023

โสตทัศนวัสดุ

รายการ

234

CD – ROM

แผ่น

23

1.5 บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter Library Loan)

รายการ

36

1.6 บริการหนังสือสำรอง

ครั้ง

381

1.7 บริการจองหนังสือ

ครั้ง

688

1.8 บริการ Document Delivery (DD)

ครั้ง

230

2. บริการช่วยการค้นคว้า

คำถาม

1,344

2.1 บริการตอบคำถามทั่วไป

คำถาม

1,018

2.2 บริการตอบคำถามที่ใช้เวลาในการค้นคว้า

คำถาม

326

3. บริการสืบค้นสารนิเทศ

ครั้ง

35,239

3.1 ฐานข้อมูลรายชื่อสิ่งพิมพ์ของห้องสมุดอื่นๆ ในประเทศไทย (OPAC)

ครั้ง

13,839

3.3 ฐานข้อมูลสำเร็จรูป ซีดี – รอม (Intra Net)

ครั้ง

-

3.5 บริการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย Internet

ครั้ง

21,400

4 . บริการจุลสาร / วารสาร

รายการ

620

5. บริการแฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง

รายการ

1,567

6. บริการรวบรวมบรรณานุกรม

หัวเรื่อง

35

7. บริการมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)

เล่ม

2,112

8. บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด

ครั้ง

102

9. บริการการฝึกอบรมผู้ใช้ห้องสมุด (Library Training)

ครั้ง

10

9.1 แบบทั่วไป

คน

72

9.2 แบบเจาะลึก

คน

72

9.3 บริการแนะนำการใช้สื่อทันสมัย

คน

72

10. บริการโสตทัศนวัสดุและโสตทัศนูปกรณ์

ครั้ง

234

11. บริการแนะนำการใช้วารสารและหนังสือพิมพ์

ครั้ง

704


2 การบริการโสตทัศนศึกษา

หน่วยโสตทัศนศึกษา เป็นหน่วยงานบริการด้านโสตทัศนูปกรณ์ ตลอดจนผลิตสื่อประกอบการเรียนการสอนและการวิจัย ให้บริการแก่คณาจารย์ นักศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกคณะ โดยมีการบริการต่างๆ ดังนี้

      • ผลิตสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบวีดีโอและซีดี ด้วยระบบดิจิตอล
      • บริการให้ยืมโสตทัศนูปกรณ์ : เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องถ่ายทอดสัญญาณคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นวีดีโอ
      • งานโฆษณาประชาสัมพันธ์ : บริการเขียนหัวข้ออบรมสัมมนา ป้ายโปสเตอร์
      • งานถ่ายภาพ : บริการถ่ายรูป/ สไลด์งานการเรียนการสอนและงานวิจัย Copy Slide
      • งานคอมพิวเตอร์กราฟฟิค : บริการทำสไลด์นำเสนอด้วย Power Point บริการออกแบบกราฟฟิก

หน่วยโสตทัศนศึกษาได้ตั้งเป้าหมายในด้านการพัฒนาการผลิตสื่อโดยจะเน้นไปในด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบวีดีโอและซีดีด้วยระบบดิจิตอล แบบสื่อผสม (Multimedia) สำหรับประกอบการเรียนการสอนในรูปของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การผลิตสื่อผลงานด้านการวิจัยของคณะฯ และการให้บริการผลิตสื่อระบบดิจิตอลเพื่อใช้สมัครงานสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของคณะวิทยาศาสตร์