€B`ฮ"V"๗ 6`ฺ"V "๗ 6`ฺ"V0"๗ IDTH=91 HEIGHT=4>




การประกันคุณภาพการศึกษา                             

การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ ในรอบปีที่ผ่านมา คณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาด้าน ต่างๆ กล่าวคือคณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการ ด้านนักศึกษาและงานพัฒนานักศึกษา ด้านวิจัย ด้านบริหารและงบประมาณ ได้จัดประชุม และกำหนดจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพแต่ละด้านที่รับผิดชอบ เช่น
1) ด้านการเรียนการสอน

1.1 การประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา

      • ใช้ระบบประเมินการสอนของอาจารย์แบบออนไลน์ทั้งภาคบรรยายและปฏิบัติการ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบ และจากการติดตามและประเมินผลการใช้งานเพื่อนำมาปรับปรุงระบบทุกภาคการศึกษา พบว่ายังมีปัญหาในเรื่องนักศึกษาเข้าประเมินจำนวนน้อย ดังนั้นในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2545 จึงได้พัฒนาและปรับปรุงระบบประเมินการสอนแบบออนไลน์ เพื่อให้การใช้งานมีความสะดวกยิ่งขึ้น และได้เพิ่มระบบการประกาศคะแนนเพื่อเป็นกลไกที่จะทำให้นักศึกษาเข้ามาสู่ระบบการประเมินการสอนแบบออนไลน์มากขึ้น

1.2 การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน

      • สนับสนุนให้คณาจารย์มีการผลิตสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย โดยในปีการศึกษา 2545 ได้ให้ทุนสนับสนุนการผลิตสื่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ แก่คณาจารย์รวมทั้งสิ้น 11 กระบวนวิชา ในวงเงิน 313,000 บาท
      • นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้คณาจารย์เข้ารับการอบรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูงหลักสูตร "การใช้ Course Management System) ในการพัฒนาและจัดการรายวิชา หลังจากการอบรมดังกล่าว ยังได้ขยายผลการดำเนินงานโดยการใช้บริการการสร้าง Courseware บนระบบ KC (Knowledge Creator) ของสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในวงเงิน 30,000 บาทต่อปีการศึกษา โดยในปีการศึกษา 2545 มีกระบวนวิชาออนไลน์ที่กำลังดำเนินการผ่านระบบดังกล่าว จำนวน 15 กระบวนวิชา
      • เพิ่มรูปแบบการให้ทุนช่วยสอนเพิ่มเติมจากแบบให้ค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง เป็นการให้ทุนการศึกษาเป็นรายภาคการศึกษาโดยให้ทุนสนับสนุนเป็นรายเดือนและเงินสมทบค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาปกติ และกำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลทุกภาคการศึกษา เพื่อสนับสนุนบุคลากรช่วยงานสอนของคณาจารย์ และกระตุ้นให้นักศึกษาที่มีศักยภาพในการศึกษาเข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ ตลอดจนสนับสนุนให้นักศึกษามีโอกาสฝึกประสบการณ์ในการทำงานด้านการสอนในระหว่างที่ศึกษา
      • มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการสนับสนุนการบริการด้านวิชาการ เพื่อให้การบริการด้านการศึกษา มีความสะดวก รวดเร็ว ลดความซ้ำซ้อนและความผิดพลาดของข้อมูล โดยระบบฐานข้อมูลออนไลน์ที่ได้ดำเนินการในขณะนี้ได้แก่
        1. โปรแกรมตารางสอบแบบออนไลน์ เริ่มใช้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2544 เป็นต้นมา โดยใช้ฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างภาควิชาและงานบริการการศึกษา และผู้ใช้งานทุกฝ่ายทั้งในส่วนของคณะ ภาควิชา อาจารย์ ตลอดจนนักศึกษาโดยสามารถเรียกดูข้อมูลได้จากระบบอินเทอร์เน็ต
        2. โปรแกรมการใช้ห้องเรียน และห้องปฏิบัติการ ออนไลน์ เริ่มใช้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2546 เป็นต้นมา เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการสำรวจตารางการใช้งานห้องเรียนและห้องปฏิบัติการในแต่ละภาคการศึกษา โดยอาจารย์ นักศึกษา บุคลากร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูตารางการใช้งานห้องในรูปแบบต่างๆ และสามารถจองห้องเรียนและห้องปฏิบัติการผ่านระบบนี้ได้อีกด้วย
        3. การให้ข้อมูล และให้บริการแบบฟอร์มต่างๆ บน Website ของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อให้คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับงานบริการการศึกษา และสามารถ download แบบฟอร์มต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว

1.3 การวัดและประเมินผล

      • กำหนดแนวปฏิบัติภายในคณะวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการรับรองผลการเรียนของภาควิชา/สาขาวิชา ทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ดังนี้
        ก. กระบวนวิชาระดับปริญญาตรี การพิจารณา :
        ขั้นตอนที่ 1 ผ่านการรับรองของคณะกรรมการประจำภาควิชา
        ขั้นตอนที่ 2 ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์
        ข. กระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษา การพิจารณา :
        ขั้นตอนที่ 1 ผ่านการรับรองของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาหรือคณะกรรมการประจำภาควิชา
        ขั้นตอนที่ 2 ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะวิทยาศาสตร์
      • ปรับปรุงแบบรายงานการวัดและประเมินผล โดยเพิ่มการรายงานข้อมูลค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ของการวัดผลกระบวนวิชานั้น รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อสอบ และแจ้งให้ภาควิชานำไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการวัดผลของภาควิชา

1.4 อาจารย์

      • กำหนดภาระงานของอาจารย์ผู้สอนของคณะวิทยาศาสตร์ โดยกำหนดคิดภาระงานทั้งภาระงานสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการแก่ชุมชน งานอาจารย์ที่ปรึกษา และภาระงานอื่นๆ เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับประกาศของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
      • จัดโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้แก่คณาจารย์เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในด้านต่างๆ เป็นประจำทุกปี โดยในช่วงตุลาคม 2545-กันยายน 2546
        - ประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา : Problem - based Learning (1 พฤศจิกายน 2545 )
        - สัมมนาพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ เรื่อง บทบาทและหน้าที่ของผู้สอน ยุคปัจจุบัน (12 มกราคม 2546)
        - สัมมนาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เรื่อง การจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา : E-learning เทคโนโลยีที่จำเป็นในการเรียนรู้ (14 กุมภาพันธ์ 2546 )
        - สัมมนาคณาจารย์เรื่อง "การจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา : Effective Learning (12 กันยายน 2546)
        - สัมมนาคณาจารย์เรื่อง "ข้อสอบ : การสร้างและการวิเคราะห์" (22 กันยายน 2546)
      • จัดโครงการพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพิจารณาปรับระบบระบบอาจารย์ที่ปรึกษาให้เหมาะสมกับการจัดการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ และเพื่อเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา โดยในรอบปีการศึกษาที่ผ่านมาได้จัดการประชุมเรื่อง การจัดทีมอาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2546

2) ด้านนักศึกษาและงานพัฒนานักศึกษา

      • มีการประเมินวิธีการคัดเลือกนักศึกษา และคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2546 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2546 ได้มีมติให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนแนวทางการรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อลดปัญหาการลาออกของนักศึกษาและให้นักศึกษาได้เรียนในสาขาวิชาเอกที่ต้องการอย่างแท้จริง โดยแบ่งกลุ่มสาขารับเข้าเป็น 5 สาขาวิชา ดังนี้
        1. สาขาวิชาเคมี เคมีอุตสาหกรรม ชีวเคมีและชีวเคมีเทคโนโลยี
        2. สาขาวิชาชีววิทยา จุลชีววิทยา และสัตววิทยา
        3. สาขาวิชาฟิสิกส์ วัสดุศาสตร์ ธรณีวิทยา อัญมณีวิทยา
        4. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สถิติ
        5. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
        ซึ่งกำหนดใช้กับการรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2547 เป็นต้นไป
      • ในการสัมมนาเรื่อง "การจัดทีมอาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มีการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อประเมินการจัดกิจกรรมในปีที่ผ่านมา และหาแนวทางการพัฒนาระบบทีมอาจารย์ที่ปรึกษา รวมทั้งรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา จากการสัมมนาทำให้ได้แนวทางในการพัฒนาระบบทีมอาจารย์ที่ปรึกษาหลายแนวทาง และจะได้นำไปใช้ปรับปรุง/ จัดกิจกรรมในปีการศึกษา 2546 ต่อไป เช่น การให้ความรู้ทางด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแก่อาจารย์ใหม่ การพบปะหารือระหว่างอาจารย์ในทีมอาจารย์ที่ปรึกษา อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 2 ครั้ง
      • จัดการปฐมนิเทศนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับคณะวิทยาศาสตร์ ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนของคณะวิทยาศาสตร์
      • จัดทำแบบบันทึกกิจกรรมนักศึกษาแบบออนไลน์ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา โดยนักศึกษาสามารถกรอกข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมในระหว่างที่ศึกษาผ่าน Website ของคณะวิทยาศาสตร์

3) ด้านการวิจัย

      • เข้าร่วมโครงการนำร่อง "การคาดการณ์สถานภาพการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์กายภาพของคณะวิทยาศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ 8 แห่ง" โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โครงการนำร่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคาดการณ์สถานภาพการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์กายภาพของคณะวิทยาศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ 8 แห่ง โดยการสืบค้นและนำข้อมูลทั้งในอดีตและปัจจุบันมารวบรวมและกลั่นกรอง เพื่อที่จะสามารถนำผลการคาดการณ์ไปกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง และแผนการบริหารงาน เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศในด้านที่เหมาะสมกับศักยภาพของหน่วยงานต่อไป
      • มีการกำหนดทิศทางการวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ ในเบื้องต้นภายใต้กรอบนโยบายและทิศทางการวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งสอดรับกับนโยบายและทิศทางการวิจัยของชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.2545-2549)
      • มีการเชื่อมโยงงานวิจัยกับการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา และความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศในทุกสาขาวิชา

4) ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน

      • คณะวิทยาศาสตร์ ดำเนินการบริการวิชาการแก่ชุมชน ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การบริการวิชาการแก่ชุมชนที่ดำเนินการโดยคณาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งที่ดำเนินการโดย สถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สวท.-ม.ช.) และการให้บริการในโครงการส่งเสริมและพัฒนาเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ในระดับโรงเรียน และชุมชน
      • การบริการวิชาการแก่ชุมชนที่ดำเนินการโดยคณาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ และ สวท.-ม.ช. ได้แก่การจัดอบรม/สัมมนา งานด้านสิ่งพิมพ์และเทคโนโลยีสารสนเทศ งานวิเคราะห์ งานทดสอบ และสอบเทียบโดยเครื่องมือและวิธีการมาตรฐานต่าง ๆ งานอบรม สัมมนา และงานถ่ายทอดเทคโนโลยี งานประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาด ตลอดจนถึงงานวิจัยค้นคว้าเฉพาะทาง งานบริการทางวิชาการอื่น ๆ ตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชา และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
      • ในปี 2546 คณะวิทยาศาสตร์ ได้มีความร่วมมือในโครงการส่งเสริมและพัฒนาเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ในระดับโรงเรียนโรงเรียน และชุมชน เพื่อพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศในหลายโครงการ เช่น โครงการโอลิมปิกวิชาการ โครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โครงการค่ายฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิก โครงการอบรมครูวิทยาศาสตร์ และโครงการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานท้องถิ่นเชียงใหม่(หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียน)

5) ด้านบริหารและงบประมาณ

      • มีการนำระบบคุณภาพต่างๆ มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการภายในคณะในหลายด้าน เช่น Balance Scorecard , เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของ Malcolm Baldrige, ระบบควบคุมภายใน, ระบบบัญชีพึงรับ-พึงจ่ายลักษณะ 3 มิติ
      • มีการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อให้เกิดทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถที่จะนำไปพัฒนางานที่ปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2546 ที่ผ่านมา ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาทักษะทางด้านผู้นำ สำหรับหัวหน้างาน หัวหน้าหน่วย หัวหน้าธุรการภาควิชา และ การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการวางแผนปฏิบัติงาน สำหรับข้าราชการสาย ข ค ลูกจ้าง และพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ
      • จากการที่คณะวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินกิจกรรม 5 ส. มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งได้ดำเนินการในส่วนสำนักงานเลขานุการคณะ ธุรการภาควิชา ห้องปฏิบัติการของภาควิชา สำหรับในปี 2546 ได้มีการจัดตั้งกลุ่ม 5 ส. สายภูมิทัศน์ รวม 9 กลุ่ม เพื่อดำเนินกิจกรรม 5 ส. ในส่วนของ ภูมิทัศน์ของคณะ เพื่อเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี และเสริมสร้างทัศนวิสัยที่ดีในการทำงาน

6) ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

      • มีการทำวิจัยโดยนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาสารย้อมสีธรรมชาติในเขตภาคเหนือตอนบน การแยกและการเพิ่มผลผลิตสารให้สีธรรมชาติจากจุลินทรีย์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมสีย้อม และการสำรวจการใช้ประโยชน์จากพรรณพืชในชนกลุ่มน้อยและชาวเมืองน่าน
      • มีการสอดแทรกกิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้าไปใน กิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นทั้งในระดับคณะและภาควิชา เช่น การจัดค่ายวิถีชุมชนในโครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ฯลฯ
      • จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 3 "พืชสมุนไพรเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติ" (The 3rd World Congress on Medicinal and Aromatic Plants for Human Welfare - WOCMAP III) ระหว่างวันที่ 3 - 7 กุมภาพันธ์ 2546 เรื่อง การใช้ความหลากหลายของพืชสมุนไพรเพื่อวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการค้าและอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน (From Biodiversity through Science and Technology,Trad and Industry to Sustainable Use) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และแสดงความก้าวหน้าในทุกแขนงที่เกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพร และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่มีบทบาทสำคัญต่อมนุษยชาติ

7) ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
คณะวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในคณะวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง โดยกิจกรรมในรอบปีที่ผ่านมา มีดังนี้

      • การจัดทำแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับพันธกิจ เป้าหมาย นโยบายและแนวทางการดำเนินงานของคณะ และยังได้นำตารางชุดดุลดัชนีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU's Balance Scorecard) มาเชื่อมโยงกับระบบประกันคุณภาพการศึกษาของคณะ โดยมีการกำหนดแผนกลยุทธ์ และแผนกิจกรรม ให้สอดคล้องกับนโยบาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ให้มีความเชื่อมโยงกับการดำเนินงานตามองค์ประกอบคุณภาพ 9 ด้านในระบบประกันคุณภาพการศึกษา
      • สัมมนาเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดทำรายงานการศึกษาตนเองและพิจารณาหาข้อสรุปเกี่ยวกับรายการตรวจสอบคุณภาพระดับภาควิชา/สำนักงานเลขานุการ ดังนี้
        - สัมมนาเรื่อง "การจัดทำรายงานการศึกษาตนเองสำหรับภาควิชา" ( 22 พฤศจิกายน 2545)
        - สัมมนา เรื่อง "การจัดทำรายงานการศึกษาตนเองของสำนักงานเลขานุการ" (3 ธันวาคม 2545)
      • จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การเตรียมความพร้อมผู้ตรวจเยี่ยมประกันคุณภาพการศึกษาภายในคณะวิทยาศาสตร์" (15 มกราคม 2546) และมีการซึ่งมีการฝึกปฏิบัติจริงโดยใช้สำนักงานเลขานุการเป็นหน่วยงานรับการตรวจเยี่ยม
      • ดำเนินการตรวจเยี่ยมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับภาควิชา/สำนักงานเลขานุการ ประจำปี 2546 ในระหว่างวันที่ 17-19 มีนาคม 2546 และได้ประเมินผลการดำเนินการในวันที่ 24 มีนาคม 2546 ผลสรุปจากการดำเนินการดังกล่าว ได้นำเสนอในที่ประชุมกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2546 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2546
      • คณะวิทยาศาสตร์รับการตรวจสอบและประเมินระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาในระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2546 ซึ่งผลการตรวจสอบฯ คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการตรวจสอบและประเมินฯ ให้อยู่ในลำดับขั้น "ดีมาก" โดยผลการประเมินระดับการพัฒนาคุณภาพพิจารณาตามองค์ประกอบทั้ง 9 ด้าน ได้คะแนนรวม 82.1 คะแนน
      • นอกจากการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ยึดตามองค์ประกอบ 9 ด้านของทบวงมหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์ยังเข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาไทยด้วยกระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ(Benchmarking) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาคุณภาพองค์กร อีกรูปแบบหนึ่ง โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นเลิศในเรื่อง 1) การวัดและการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานขององค์กร (Measurement and Analysis of Organizational Performance) และ 2) กระบวนการสนับสนุน (Support Processes) และผู้เข้าร่วมโครงการได้มาศึกษาดูงานคณะวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2546
      • มีการจัดสัมมนาคณาจารย์และบุคลากร เพื่อให้คณาจารย์และบุคลากรได้รับทราบข้อมูล ความก้าวหน้าในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาและการเตรียมการเพื่อรับการประเมินคุณภาพ การศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในการประชุมบุคลากรเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา เรื่อง "การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์สามสถาบัน" เมื่อวันที่ 3 เมษายน 254