การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน

   


1 ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่มาตรฐานระดับโลก คณะวิทยาศาสตร์ ก็มีเป้าหมายในการพัฒนาคณะฯ ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ในระดับสากล เช่นนั้น ฉะนั้นเป้าหมายแห่งการพัฒนาห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ ก็ย่อมต้องสอดคล้องกับนโยบายหลักของคณะฯด้วย กล่าวคือ ห้องสมุดจะต้องเป็นหน่วยสนับสนุนและเสริมการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ด้วยการพัฒนาแหล่งสารนิเทศทุกประเภทให้สมบูรณ์และทันสมัย รวมถึงการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้อย่างครบวงจร ตื่นตัวต่อการเป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา มีชีวิตชีวา จัดบริการทรัพยากรสารนิเทศรูปแบบใหม่ ๆ ทันสมัย และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เฉพาะกลุ่มอย่างแท้จริง ดังแสดงราละเอียดผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ผลการบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง
การจัดบริการแก่ผู้ใช้ภายในห้องสมุดกว่า 82,878 รายต่อปี
จัดให้มีการสืบค้นข้อมูลเครือข่ายห้องสมุดด้วยคอมพิวเตอร์กว่า 40 จุดบริการรวมผู้ใช้ บริการสืบค้นข้อมูล 42,000 ราย
การให้บริการข้อมูลเฉพาะเรื่องจากแฟ้มข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 262 แฟ้มข้อมูล
2. ผลการพัฒนาระบบทรัพยากรสารสนเทศ
การให้บริการ Digital Media Learning ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นสารสนเทศ ต่าง ๆ ในระบบมัลติมีเดียจากสำนักหอสมุด สามารถรับชมสัญญาณดาวเทียมผ่านเครือข่าย และ VDO on Demand ?
การพัฒนาการสร้างฐานข้อมูลเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ 5 ฐานเพื่อให้บริการบน Homepage ของห้องสมุด
ฐานข้อมูล Website ที่น่าสนใจ เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวม Website ที่น่าสนใจ ทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 191 ระเบียน
ฐานข้อมูลปัญหาพิเศษปริญญาตรี เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมปัญหาพิเศษของนักศึกษาปริญญาตรีคณะวิทยาศาสตร์ มช. ที่ห้องสมุดมีให้บริการ จำนวน 270 ระเบียน
ฐานข้อมูลเอกสารงานวิจัยของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมงานวิจัยของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มช. จำนวน 50 ระเบียน
ฐานข้อมูลสิ่งพิมพ์รัฐบาล เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมรายชื่อสิ่งพิมพ์รัฐบาลที่ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ให้บริการ จำนวน 50 ระเบียน
ฐานข้อมูลมาตรฐานอุตสาหกรรม เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมรายการมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ห้องสมุดได้รับตั้งแต่ปี 2517 – ปัจจุบัน จำนวน 336 ระเบียน
จัดทำเอกสารเผยแพร่การใช้ข้อมูลด้านห้องสมุด เช่น ข่าวสารน่ารู้จากห้องสมุด โดยใช้ บริการสามารถอ่านข้อมูลผ่าน Homepage ของห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ได้ทุกเดือน เป็นประจำ
การพัฒนาปรับปรุง Homepage ของห้องสมุด โดยพัฒนาปรับปรุงข้อมูลที่ให้บริการให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ อาทิ
การบริการ Hot News on Web ให้บริการข่าวสารที่ทันสมัยเป็นประจำทุกเดือน
การบริการ Online Sci-Tech หรือนิทรรศการออนไลน์ ให้ข้อมูลที่มีเนื้อหาที่น่าสนใจทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจะปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยเป็นประจำทุกเดือน
การให้บริการรายชื่อหนังสือใหม่ประจำสัปดาห์ ให้รายละเอียดของหนังสือใหม่ของห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ที่ให้บริการประจำทุกสัปดาห์
3. ผลการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
ภาพรวมการให้บริการได้มีการพัฒนาการให้บริการสืบค้นข้อมูลสารนิเทศในระบบ Online โดยการจัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยเพื่อสนองความจำเป็นนี้ อีกทั้งการจัดหาสื่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการสืบค้นสารนิเทศได้รวดเร็ว โดยห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ได้จัดหาวารสารอิเล็กทรอนิกส์ AIP/APS ในสาขาฟิสิกส์ ผู้ใช้สามารถสืบค้นวารสารในระบบ Online 17 รายชื่อ รวมถึงการสืบค้นฐานข้อมูลเฉพาะสาขาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 13 ฐานข้อมูล ได้แก่
1. ACM Digital Library ฐานข้อมูลบทความ มีเอกสารฉบับเต็มกว่า 300 ชื่อ ของวารสาร นิตยสาร รายงานความก้าวหน้า เอกสารการประชุมและข่าวสารครอบคลุมสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีข้อมูลตั้งแต่ปี 1960 – ปัจจุบัน สืบค้นได้จาก http://portal.acm.org/dl.cfm
2. ACS Publications ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ให้ข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของวารสารจากสำนักพิมพ์ American Chemical Society จำนวน 24 ชื่อ สืบค้นได้จาก http://pubs.acs.org/about.html
3. AIP/APSฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางด้านฟิสิกส์ (American Institute of Physics) จำนวน 10 รายชื่อ และของ American Physical Society จำนวน 7 รายชื่อ โดยจะให้รายละเอียดฉบับเต็มของวารสารสืบค้นได้จากhttp://www.lib.cmu.ac.th/aipaps.html
4. AGRICOLA ฐานข้อมูลสาระสังเขปทางด้านการเกษตรของ National Agricola Library รวมทั้งสาขาวิชาที่ เกี่ยวข้อง เช่น สาขาสัตวศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ กีฏวิทยา พืชศาสตร์ ป่าไม้ การประมง ฟาร์ม เศรษฐกิจการเกษตร การส่งเสริมการเกษตร อาหารและโภชนาการ ดินและสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมเอกสารสิ่งพิมพ์ทุกประเภท โดยมีข้อมูลตั้งแต่ปี 1970 – ปัจจุบันสืบค้นได้จาก http://agricola.nal.usda.gov/
5. CAB Abstracts ฐานข้อมูลวารสาร หนังสือ รายงานการประชุม งานวิจัย สิทธิบัตร และมาตรฐานด้านการเกษตรและ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ให้ข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขปของบทความ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 – ปัจจุบันสืบค้นได้จาก http://dbonline2.lib.cmu.ac.th/cabi/
6. EI Compendex ฐานข้อมูลบทคัดย่อและเอกสารฉบับเต็มทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ มีข้อมูลกว่า 5 ล้านรายการ ครอบคลุมวารสาร รายงานการประชุมทางวิศวกรรมกว่า 5,000 ชื่อ สืบค้นได้จาก http://dbonline2.lib.cmu.ac.th/ei/main.nsp?view=Ei
7. ENGnetBASE ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของสำนักพิมพ์ CRC ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 198 เล่ม สืบค้นได้จาก http://www.engnetbase.com/
8. ENVIROnetBASE ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของสำนักพิมพ์ CRC ทางด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 131 เล่มสืบค้นได้จาก http://dbonline2.lib.cmu.ac.th/ei/main.nsp?view=Ei
9. FOODnetBASE ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของสำนักพิมพ์ CRC ทางด้านอาหารจำนวน 81 เล่ม สืบค้นได้จาก http://www.foodnetbase.com/
10. IEEE/IEE Electronic Library (IEL) ฐานข้อมูลฉบับเต็มของวารสารทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า วิทยาการคอมพิวเตอร์ และอิเล็กโทรนิกส์ มีบทความฉบับเต็มกว่า 950,000 รายการ จากสิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์โดยสมาคม IEEE/IEE เป็นข้อมูลปี ค.ศ. 1988 – ปัจจุบัน สืบค้นได้จาก http://www.ieee.org/ieeexplore
11. ScienceDirect ฐานข้อมูล ScienceDirect เป็นฐานข้อมูลวารสารสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มีข้อมูลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 - ปัจจุบัน ให้ข้อมูลบรรณานุกรม สืบค้นสาระสังเขปของบทความวารสารได้ 5,500 ชื่อ และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม 1,500 ชื่อ สืบค้นได้จาก http://www.sciencedirect.com
12. SciFinder Scholar เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขป ข้อมูลวารสาร สิทธิบัตร รายงานการประชุม สัมมนา และบทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ สาขาเคมี ชีวเคมี ฟิสิกส์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง จัดทำโดย American Chemical Society สืบค้นได้จาก http://www.lib.cmu.ac.th/scifinder/
13. Web of Science เป็นชุดฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขปจากวารสารไม่น้อยกว่า 8,500 ชื่อ มีข้อมูล ไม่น้อยกว่า 1.1 ล้าน ระเบียน ครอบคลุมสาขาวิชาหลัก คือ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ มนุษยศาสตร์ ประกอบด้วยฐานข้อมูลย่อย 3 ฐานข้อมูล คือ Science Citation Index Expanded Social Sciences Citation Index และ Arts & Humanities Citation Index สามารถสืบค้นข้อมูลตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001จนถึงปัจจุบัน สืบค้นได้จาก http://isi02.isiknowledge.com/


2 การบริการโสตทัศนศึกษา

หน่วยโสตทัศนศึกษา เป็นหน่วยงานบริการด้านโสตทัศนูปกรณ์ ตลอดจนผลิตสื่อประกอบการเรียนการสอนและการวิจัย ให้บริการแก่คณาจารย์ นักศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ภายในคณะฯ โดยมีขอบข่ายงานดังนี้คือ
ก. งานผลิตสื่อการเรียนการสอน การวิจัย การประชาสัมพันธ์ และบริการโสตทัศนูปกรณ์
1. งานผลิตและบริการสื่อทางวิดีทัศน์/เทปเสียง
2. งานถ่ายภาพทางการศึกษาและวิจัย
3. งานออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและผลิตสื่อทางคอมพิวเตอร์
4. งานโฆษณาและประชาสัมพันธ์
5. งานบริการโสตทัศนูปกรณ์
ข. งานจัดการและควบคุมดูแลโสตทัศนูปกรณ์ประจำห้องเรียนและห้องประชุม ได้แก่ การควบคุมดูแลอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องเสียง เครื่องเล่นวิดีโอเทป เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องถ่ายทอดสัญญาณคอมพิวเตอร์ (LCD) เป็นต้น
นอกจากนี้หน่วยโสตทัศนศึกษา ได้ผลิตสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบวีดีโอและซีดีด้วยระบบดิจิตอลแบบสื่อผสม (Multimedia) สำหรับประกอบการเรียนการสอนในรูปของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การผลิตสื่อผลงานด้านการวิจัยของคณะฯ และนำสื่อนั้นเผยแพร่บนเว็บไซต์ของคณะฯ อีกทางหนึ่งด้วย (www.science.cmu.ac.th/audivisual/index.html)