ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน

   


คณะวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินการในส่วนของงานบริการวิชาการแก่ชุมชน ใน 2 รูปแบบ ได้แก่
1. การบริการวิชาการแก่โรงเรียน
เพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนให้เป็นไปตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของพระราช
บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยความร่วมมือและสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มูลนิธิ ส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยา นิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสนราชนครินทร์ (สอวน.) ฯลฯ เพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ ในการพัฒนาโรงเรียน ครู นักเรียน รวมทั้งการพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษา เช่น

ค่ายโอลิมปิกวิชาการ
คณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดอบรมนักเรียนตามโครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนา มาตรฐานวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (มูลนิธิ สอวน.) โดยได้ดำเนินการมาแล้วเป็นปีที่ 6 และได้มีการจัดอบรมทั้งหมด 6 สาขาวิชา คือสาขาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ สำหรับในปีการศึกษา 2548 ได้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2548 และเข้าค่าย 1 ปีการศึกษา 2548 ระหว่างวันที่ 9-25 ตุลาคม 2548 โดยมีจำนวนผู้สมัคร ทั้งหมด 3,760 คน จาก 71 โรงเรียน และมีครูจากโรงเรียนต่างๆ ในเขตภาคเหนือตอนบน ร่วมเป็นครูวิทยากรและครูสังเกตการณ์ จำนวน 18 คน
การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิก สอวน. ครั้งที่ 2
คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับมอบหมายจากมูลนิธิ สอวน. ให้เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิก สอวน. ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 20-24 เมษายน 2548 โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมคือนักเรียน อาจารย์ ครู และผู้เกี่ยวข้อง จากศูนย์ สอวน.ต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 232 คน
การอบรมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และวิทยาศาสตร์โลกประจำปี 2548
คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับมอบหมายจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยจัดอบรมครู วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และวิทยาศาสตร์โลก ระหว่างวันที่ 25 เมษายน ถึง วันที่ 6 พฤษภาคม 2548 ตามข้อมูล ดังนี้

สาขาวิชา
หลักสูตร 1
(คน)
หลักสูตร 2
(คน
)
หลักสูตร 3
(คน)

รวม (คน)
ชีววิทยา
23
-
-
23
คณิตศาสตร์
41
-
-
41
วิทยาศาสตร์โลก
44
-
-
44
เคมี
24
-
11
35
รวม
132
-
11
143


โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโรงเรียน
โครงการศูนย์ศึกษาดาราศาสตร์ : เครือข่ายสารสนเทศดาราศาสตร์สำหรับโรงเรียน

2. ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
2.1. สวท-มช และภาควิชาต่าง ๆ
คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดอบรม/สัมมนาให้ความรู้แก่ชุมชน ให้บริการรับวิเคราะห์ทดสอบระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ งานนวัตกรรมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีการดำเนินการผ่านสถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท.-ม.ช.) เช่น การอบรมการเป่าแก้ว อัญมณีชนิดที่สำคัญ การตรวจพิสูจน์ทับทิมแซปไฟร์สังเคราะห์ การตรวจพิสูจน์เพชรเลียนแบบจากเพชรแท้ การทำมาตรฐานลำไยอบแห้ง ฯลฯ นอกจากการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ผ่าน สวท.-มช. แล้ว ภาควิชาต่างๆ ยังได้ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ในสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญไปสู่ชุมชน เช่น
การอบรมการทำไวน์และสุราพื้นบ้าน การนำเห็ดกลับคืนสู่ป่าชุมชน
การให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของโลก แผ่นดินไหว
การอบรมการย้อมสีจากธรรมชาติ การทำผลิตภัณฑ์หอมระเหยจากธรรมชาติ
การให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เซรามิก
การบรรยายและให้ความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์แก่นักเรียนและชุมชน ผ่านการให้บริการของหอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการบริษัทเสมือนเพื่อรับพัฒนาซอฟต์แวร์
การอบรมเกี่ยวกับการทำโพล การอบรมการใช้โปรแกรม SPSS
2.2 โครงการบริการวิชาการชุมชนบูรณาการ
คณะวิทยาศาสตร์ได้รับงบประมาณในปี 2548 สนับสนุนโครงการบริการวิชาการชุมชนบูรณาการ ในการให้บริการวิชาการแก่สังคม จำนวน 5 โครงการดังนี้
1. โครงการศูนย์วิจัยนาโนวิทยาและนาโนเทคโนโลยี
ได้รับงบประมาณจำนวน 18,000,000.-บาท เป็นโครงการที่มีความร่วมมือจากหลายสาขาวิชา ได้แก่ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านนาโนวิทยาและนาโนเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายนาโนวิทยาและนาโนเทคโนโลยี ผลการดำเนินงานของโครงการ คือ

        • สร้างเครือข่ายโดยการจัดประชุมสัมมนาเรื่อง“เทคโนโลยีการผลิตวัสดุนาโน” ระหว่างวันที่ 28 –29 กรกฎาคม 2548 ณ ห้องแสนตอ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 120 คน จากองค์กรจำนวน 30 องค์กร
        • ผลิตนักวิจัยทางด้านนาโนวิทยาและนาโนเทคโนโลยีทั้งระดับปริญญาโทและ ปริญญาเอก จำนวน 21 คน
        • มีการวิจัยเชิงประยุกต์และวิจัยต้นแบบที่ได้หรือแนวทางของการใช้นาโนวิทยาและ นาโนเทคโนโลยี จำนวน 23 ชิ้นงา


2. โครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ
ได้รับงบประมาณ จำนวน 3,000,000.-บาท เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร มีผลการดำเนินงานของโครงการดังนี้
มีชุมชนในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 223 ชุมชนที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
ผลิตนักวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จำนวน 30 คน
3. ศูนย์วิจัยและบริการจีโนมพืชเศรษฐกิจ
ได้รับงบประมาณจำนวน 3,600,000.-บาท ผลการดำเนินงานของโครงการ คือ
มีการดำเนินงานวิจัย จำนวน 10 โครงการ
มีการจัดฝึกอบรม การบริการให้คำปรึกษา การบริการฝึกทักษะทางด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และการปรับปรุงพันธุ์โดยเทคนิคทางโมเลกุล
มีการนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
4. ศูนย์ข้อมูลน้ำบาดาลภาคเหนือ
ได้รับงบประมาณจำนวน 3,500,000.-บาท เป็นโครงการที่ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีน้ำบาดาลที่เหมาะสมกับสภาพอุทกวิทยาของภาคเหนือและเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านน้ำบาดาลให้กับชุมชนและสังคม ผลการดำเนินงานของโครงการคือ
จัดทำฐานข้อมูล จำนวน 1 ฐาน
มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ด้านน้ำบาดาล จำนวน 3 ครั้ง
มีการดำเนินงานวิจัย จำนวน 1 ชิ้นงาน
5. บริษัทเสมือนเพื่อรับพัฒนาซอฟแวร์
ได้รับงบประมาณ จำนวน 2,000,000.-บาท ผลการดำเนินงานคือ
มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ จำนวน 104 คน
มีผลิตภัณฑ์ซอฟแวร์ จำนวน 5 โปรแกรม

2.3. การจัดประชุมวิชาการ
คณะวิทยาศาสตร์ได้เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้แก่ นักวิชาการ นักเรียน นิสิต/นักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป เช่น
จัดประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ เช่น
1. ประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง The 5th International Conference on Oriental
Astronomy (ICOA 5) ระหว่างวันที่ 4+8 ตุลาคม 2547 ณ โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่
2. ประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง International Conference on Smart Materials-Smart/Intelligent Materials and Nano Technologyn (SmartMat-’04) ระหว่างวันที่ 1 – 3 ธันวาคม 2547 ณ โรงแรมแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่
3 ประชุมสัมมนา เรื่อง เทคโนโลยีการผลิตวัสดุนาโน (Nano Material Fabrication Technology) ระหว่างวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนี้ มีการจัดกิจกรรมเยาวชนในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 – 20 สิงหาคม 2548 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนของ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์


การดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ

การจัดทำวารสารและข่าวสาร
คณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดทำวารสารเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ในชื่อ Chiang Mai Journal of Science เป็นวารสารที่มีกำหนดพิมพ์ทุก 4 เดือน จัดเป็นวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยได้รับการบรรจุไว้ในฐานข้อมูล Chemical Abstracts, SciFinder Scholar, BIOSIs Previews, Biological Abstracts, and Zentralblatt fur Mathematik จึงกล่าวได้ว่า วารสารดังกล่าวเป็นเวทีหนึ่งของนักวิจัยทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีดัชนีผลกระทบ อ้างอิง (Impact Factor) ของวารสารไทยปี พ.ศ. 2547 เท่ากับ 0.113 (ICI index 04-sort by Impact Factor.doc)
นอกจากนี้ คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดบรรยายพิเศษ เนื่องในงาน “ฉลองครบรอบ 100 ปีมหัศจรรย์ (Miraculous Year) ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)” เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2548 มีวัตถุประสงค์เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีและผลงานทางวิทยาศาสตร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ได้นำมาประกอบการเรียนการสอน และเป็นแหล่งทรัพยากรอ้างอิงด้านการวิจัย อีกทั้งเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการครบรอง 100 ปี ของนักวิทยาศาสตร์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศให้ปี พ.ศ. 2548 เป็นปี “ฟิสิกส์สากล” (International Year of Physics) และเพื่อเป็นการยกย่องนักวิทยาศาสตร์ แขนงวิชาฟิสิกส์ ที่ได้สร้างคุณประโยชน์ไว้ให้วงการวิชาการอย่างหาค่ามิได้
สถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สวท-มช)
คณะวิทยาศาสตร์ ยังมีหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลคือ "สถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(สวท-มช)" ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้บริการวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งจากการให้บริการไปใช้ในการพัฒนาและเสริมสร้างคุณภาพทางวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์ การให้บริการที่ได้ดำเนินการ คือ การจัดอบรมให้ความรู้ แก่ผู้สนใจ การให้บริการด้านรับวิเคราะห์ตัวอย่าง และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังรายละเอียดคือ
1. การบริการด้านการวิเคราะห์ ทดสอบ จำนวน 458 ครั้ง
2. จัดอบรมให้ความแก่ผู้สนใจ 3 เรื่อง คือ
2.1 เรื่อง “เทคนิคในการเลือกซื้ออัญมณี (ทับทิม แซปไฟร์ มรกต) โดยภาควิชาธรณีวิทยาร่วมกับ สวท-มช
2.2 เรื่อง “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการอบลำไยสีทอง” โดย สวท-มช ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน
2.3 เรื่อง “สถิติขั้นกลางสำหรับงานวิศวกรรม ในหัวข้อ สถิติเพื่อการตัดสินใจ”
3. งานเทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ ได้ให้บริการแก่องค์กรทั้งของภาครัฐและเอกชน
4. ศูนย์บริการวิจัยจุลทรรศนศาสตร์อิเล็กตรอนให้บริการแก่นักศึกษา คณาจารย์ และ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จำนวน 707 ครั้ง