คณะวิทยาศาสตร์ ได้ดำเนินการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างทั่วถึง
โดยความร่วมมือของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา โดยการจัดกิจกรรมหรือเข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณีท้องถิ่น
เช่น การหล่อเทียนและถวายเทียนพรรษาในวันเข้าพรรษา การทำโคมและกระทงในเทศการลอยกระทง
การทอดผ้าป่า การทำบุญประจำปี การรดน้ำดำหัว ฯลฯ
ร่วมทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ
|
29
ตุลาคม 2547 |
ร่วมงานกฐินมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
29
ตุลาคม 2547 |
งานทำบุญคณะประจำปี
|
6
มกราคม 2548 |
ร่วมขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์ |
13
เมษายน 2548 |
พิธีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส |
22
เมษายน 2548 |
พิธีไหว้ครู |
16
มิถุนายน 2548 |
ร่วมงานทำบุญเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ |
16
มิถุนายน 2548 |
พิธีบายศรีสู่ขวัญและงานขันโตก |
9
กรกฎาคม 2548 |
พิธีหล่อเทียนพรรษา |
1
กรกฎาคม 2548 |
พิธีถวายเทียนพรรษา |
15
กรกฎาคม 2548 |
พิธีถวายพานพุ่มสักการะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
18
สิงหาคม 2548 |
ร่วมพิธีวางพวงมาลาวันมหิดล
คณะแพทยศาสตร์ |
24
กันยายน 2548 |
พิธีแสดงมุทิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุราชการ |
23
กันยายน 2548 |
มีโครงการวิจัยด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
จำนวน 8 โครงการ ดังนี้
ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
1. โครงการ แบบสมมาตรของลายดั้งเดิมในซิ่นตีนจกจากกลุ่มวัฒนธรรมไทยวนอำเภอแม่แจ่ม
โดยมี อาจารย์ ดร.ณัฐกร สุคันธมาลา สังกัดภาควิชาคณิตศาสตร์เป็นหัวหน้าโครงการ
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ปี 2548
ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2. โครงการ การขยายพันธุ์และปลูกต้นไม้พื้นเมืองเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมโดยมีรศ.ดร.วิไลวรรณ
อนุสารสุนทร จากภาควิชาชีววิทยาเป็นหัวหน้าโครงการ ด้รับงบประมาณจาก
งบประมาณแผ่นดินปี 2548
3. โครงการ การบูรณาการข้อมูลด้านอุทกธรณีวิทยา
ธรณีฟิสิกส์ และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการน้ำบาดาล
อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ดร.พิษณุ วงศ์พรชัย จากภาควิชาธรณีวิทยาเป็นหัวหน้าโครงการ
ได้รับงบประมาณจาก งบประมาณแผ่นดินปี 2548
4. โครงการ ปุ๋ยชีวภาพจากเศษใบไม้ใบหญ้าในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยมี
รศ.อภิญญา ผลิโกมล จากภาควิชาชีววิทยาเป็นหัวหน้าโครงการ ได้รับงบประมาณจาก
เงินรายได้คณะปี 2548
5. โครงการ การตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศที่ความสูงต่าง
ๆ บริเวณเมืองเชียงใหม่ โดยวิธีตรวจวัดระยะไกล ระยะที่ 2 โดยมีผศ.ดร.ชุลีพร
วงศ์ธวัชนุกูล จากภาควิชาฟิสิกส์ ได้รับงบประมาณจาก เงินรายได้คณะปี
2548
6. โครงการ การผลิตกระดาษกรองสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการจากเปลือกข้าวโพด
โดยมี ผศ.นงเยาว์ มาลัยทอง จากภาควิชาเคมีเป็นหัวหน้าโครงการ ได้รับงบประมาณจาก
เงินรายได้คณะปี 2548
7. โครงการ การวิเคราะห์เพื่อหามลพิษทางอากาศในอนุภาคฝุ่นในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน
โดยมี ผศ.ดร.มงคล รายะนาคร จากภาควิชาเคมี เป็นหัวหน้าโครงการ ได้รับงบประมาณจาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ปี 2548
8. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนแม่จัน
จังหวัดเชียงราย โดยมี ผศ.ดร.ฟองสวาท สุวคนธ์ สิงห์วราพันธ์ จากภาควิชาธรณีวิทยา
เป็นหัวหน้าโครงการ ได้รับงบประมาณจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ปี 2548
คณะวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงการเชื่อมโยงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ากับภารกิจหลักด้านการเรียนการสอน
การวิจัย และการบริการวิชาการแก่ชุมชน ได้แก่
การจัดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เช่น
สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติ
พันธุ์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มีบทบาทต่อชุมชนภายนอกผ่านงานวิจัยของคณาจารย์และนักศึกษา
มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชา
เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมีอุตสาหกรรม ฯลฯ ที่เชื่อมโยง
กับวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีมาแต่ช้านาน
เช่น
- การวิจัยกลุ่มดาวนักษัตรล้านนา
ดาราศาสตร์กับกำแพงเมืองเชียงใหม่ ประวัติศาสตร์ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่หายากในประเทศไทย
- การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะเชิงคณิตศาสตร์ของลายผ้าทอในจังหวัดภาคเหนือ
- แบบสมมาตรของลายดั้งเดิมในซิ่นตีนจกจากกลุ่มวัฒนธรรมไทยวนอำเภอแม่แจ่ม
- ชุดทดสอบปริมาณเงินสำหรับอุตสาหกรรมท้องถิ่น
- งานวิจัยและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูป่า
โดยดำเนินการผ่านหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า
มีการจัดกิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชนที่เชื่อมโยงกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การอบรมการทำไวน์และสุราพื้นบ้าน
การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสาหร่ายพิษและสารพิษในแหล่งน้ำจืด
นอกจากนี้
ยังมีการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่เชื่อมโยงกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
รวมทั้งการอนุรักษ์ ส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนเกษตรกรรม โดยมีวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเป็นพื้นฐาน
เช่น โครงการสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้าน ค่ายวิทยาศาสตร์ในวิถีชุมชน
|