บุคลากรและนักศึกษาที่ได้รับการเชิดชูเกียรตี

   


 

บุคลากรดีเด่น ประจำปี 2548
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์มัลลิกา ถาวรอธิวาสน์ กลุ่มระดับ 6 - 8
2. นายนิเวศน์ ศรีล้อม กลุ่มระดับ 1 - 5
3. นายพิชัย ดาวเลิศ กลุ่มลูกจ้างประจำ

ผลงานทางวิจัยดีเด่น ประจำปี 2548
1. ศาสตราจารย์ ดร. เกตุ กรุดพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ได้รับเหรียญรางวัลสูงสุดพร้อมประกาศนียบัตรของสมาคม โฟลอินเจคชันอะนาลิซิสแห่งประเทศญี่ปุ่น JAFIA (Japanese Association for Flow Injection Analysis)
2. ศาสตราจารย์ ดร.ทวี ตันฆศิริ และศาสตราจารย์ ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ได้รับรางวัล เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ซึ่งเป็นทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย เพื่อสนับสนุนนักวิจัยอาวุโสให้สร้างนักวิจัยใหม่ที่มีความสามารถทางวิชาการสูงและเป็นเกียรติแก่นักวิจัยที่ได้รับรางวัลในฐานที่ได้สร้างผลงานดีเด่นมาตลอดโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จะพิจารณาคัดเลือกนักวิจัยเด่น ๆ ในกลุ่มสาขาวิชาต่าง ๆ ที่มีผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
3. ศาสตราจารย์ ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง และ อาจารย์ ดร.เหลียงเติ้ง ยู และนางสาวสุพรรณี พรมเทพ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ อนันตลาโภชัย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับรางวัล 1 ใน 10 ของโปสเตอร์ดีเด่นจากจำนวน 154 เรื่อง จากผลงานเรื่อง Investigation of Purple Glutinous Rice Induced by Low Energy Ion Beam ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติทางฟิสิกส์ครั้งที่ 14 ณ Pine Bay Resort Hotel เมือง Kusadasi ประเทศ Turkey
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.รัตติกร ยิ้มนิรัญ ภาควิชาฟิสิกส์ เจ้าของผลงานวิจัย เรื่อง “อิทธิพลของความเค้นแบบแกนเดี่ยวต่อสมบัติไดอิเล็คทริกและไฟฟ้าเชิงกลของสารเซรามิกส์ในระบบ PMN-PZT” ได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น ประจำปี 2548
5. รองศาสตราจารย์ ดร. สายสมร ลำยอง อาจารย์จากภาควิชาชีววิทยา ได้รับรางวัล ประจำปี 2548 จากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการสูงสุดถึง 2 ปีซ้อน ( 2546 - 2547 )
6. อาจารย์ ดร. สกุณณี บวรสมบัติ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 รางวัล Industrial Vote ในการนำเสนอผลงานโครงการ IRPUS ประจำปี 2548
7. อาจารย์ ดร.สุกานดา เจียรศิริสมบูรณ์ อาจารย์จากภาควิชาฟิสิกส์ ร่วมกับนายภานุพงษ์ พานิช นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัล Thainox Metallurgy Award 2005 จาก บริษัท ไทยน๊อคซ์ สเตนเลน จำกัด (มหาชน) ในการประกวดโครงงานวิจัยในหัวข้อ “ การศึกษาการกัดกร่อนในผิวเคลือบโลหะและอัลลอยที่เตรียมโดยเทคนิคการพ่นเคลือบด้วยความร้อน”
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย วิโรจนุปถัมภ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการพ่นเคลือบด้วยความร้อนเพื่อประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุศาสตร์ แห่งชาติ (MTEC) โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ และเป็นโครงการ 1 ใน 6 โครงการที่ได้รับคัดเลือกจากทั้งหมดกว่า 30 โครงการจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และเป็นโครงการเดียวของมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคที่ได้รับคัดเลือก
9. นายพันธุ์วงค์ คุณธนะวัฒน์ นักศึกษาปริญญาตรี จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ กลุ่มรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทยครั้งที่ 4
10. นายธนพนธ์ เอื้อตระกูล นักศึกษาระดับปริญญาตรี จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้รับรางวัลชนะเลิศครองถ้วยเกียรติยศพร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท และรางวัลทัศนศึกษาพิเศษ HSBC ยอดนักธุรกิจรุ่นใหม่ หัวใจไอที (HSBC Young IT Entrepreneur Awards)
11. นางสาวชลดา เดชาเกียรติไกร และนางสาวจันทิพา วิสุทธิ นักศึกษาระดับปริญญาโท และนายจิรายุ มากชิต นักศึกษาระดับปริญญาเอก ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลนำเสนอผลงานดีเด่นในรูปแบบ Poster จากการประชุมวิชาการ PERCH Congress IV ที่จัดขึ้นโดย โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมี ในระหว่างวันที่ 8-11 พฤษภาคม 2548 ณ โรงแรมจอมเทียนปาล์มบีช รีสอร์ท เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
12. นายณิวัฒน์ ธรรมจักร์ นักศึกษาจากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ (Young Thai Science Ambassador Award 2005) เป็นตัวแทนร่วมกับนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ไปร่วมการชุมนุมทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชนนานาชาติ (London International Youth Science Forum 2005) ณ สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม-10 สิงหาคม 2548