คณะวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินการบริการวิชาการแก่ชุมชน
ใน 2 รูปแบบ ได้แก่
1. การบริการวิชาการแก่โรงเรียน
เพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนให้เป็นไปตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
โดยความร่วมมือและสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
มูลนิธิ ส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยา
นิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสนราชนครินทร์ (สอวน.) โครงการส่งเสริมและพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ฯลฯ เพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ ในการพัฒนาโรงเรียน ครู นักเรียน รวมทั้งการพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษา
เช่น
ค่ายโอลิมปิกวิชาการ
คณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดอบรมนักเรียนตามโครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนา
มาตรฐานวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
(มูลนิธิ สอวน.) โดยได้ดำเนินการมาแล้วเป็นปีที่ 6 และได้มีการจัดอบรมทั้งหมด
6 สาขาวิชา คือสาขาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และดาราศาสตร์
สำหรับในปีการศึกษา 2549 ได้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเมื่อวันที่
3 กันยายน 2549 และเข้าค่าย 1 ปีการศึกษา 2549 ระหว่างวันที่ 6 - 17
ตุลาคม 2549 โดยมีจำนวนผู้สมัคร ทั้งหมด 4,138 คน จาก 88 โรงเรียน และมีครูจากโรงเรียนต่างๆ
ในเขตภาคเหนือตอนบน ร่วมเป็นครูวิทยากรและครูสังเกตการณ์ จำนวน 21 คน
การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิก
สอวน. ครั้งที่ 5
คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับมอบหมายจากมูลนิธิ สอวน. ให้เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก
สอวน. ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 7-11 พฤษภาคม 2549 โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมคือนักเรียน
อาจารย์ ครู และผู้เกี่ยวข้อง จากศูนย์ สอวน.ต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน
230 คน
การอบรมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
คอมพิวเตอร์ และวิทยาศาสตร์โลกประจำปี 2549
คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับมอบหมายจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยจัดอบรมครู
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และวิทยาศาสตร์โลก ระหว่างวันที่
24 เมษายน - 5 พฤษภาคม 2549 ตามข้อมูล ดังนี้
สาขาวิชา |
หลักสูตร
1
(คน)
|
หลักสูตร
2
(คน)
|
หลักสูตร
3
(คน)
|
รวม
(คน) |
คณิตศาสตร์ |
- |
17 |
- |
17 |
วิทยาศาสตร์โลก |
33 |
- |
- |
33 |
ฟิสิกส์ |
- |
- |
8 |
8 |
คอมพิวเตอร์ |
- |
10 |
- |
10 |
รวม |
33 |
27 |
8 |
68 |
- โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโรงเรียน
- โครงการศูนย์ศึกษาดาราศาสตร์ : เครือข่ายสารสนเทศดาราศาสตร์สำหรับโรงเรียน
- โครงการส่งเสริมและพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
2. ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
2.1. ภาควิชาต่าง ๆ และสถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สวท-มช..)
คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดอบรม/สัมมนาให้ความรู้แก่ชุมชน
ให้บริการรับวิเคราะห์/ทดสอบระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ
งานนวัตกรรมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยมีการดำเนินการผ่าน สวท - มช. เช่น การอบรมการเป่าแก้ว
อัญมณีชนิดที่สำคัญ การตรวจพิสูจน์ทับทิมแซปไฟร์สังเคราะห์
การตรวจพิสูจน์เพชรเลียนแบบจากเพชรแท้ การทำมาตรฐานลำไยอบแห้ง
ฯลฯ นอกจากการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ผ่าน
สวท - มช. แล้ว ภาควิชาต่างๆ ยังได้ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ในสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญไปสู่ชุมชน
เช่น (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในภาคผนวก)
อบรมการเพาะเลี้ยงหนอนเยื่อไผ่ให้แก่เกษตรกร
ปีที่ 2 รุ่นที่ 1
อบรมความรู้ท้องถิ่นในการใช้พืชพื้นบ้าน
อบรมความรู้ท้องถิ่นในการใช้ผักพื้นบ้าน
การให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เซรามิก
การบรรยายและให้ความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์แก่นักเรียนและชุมชน
ผ่านการให้บริการของหอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2.2
โครงการบูรณาการวิชาการแก่ชุมชน
ในปี 2549 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการบูรณาการวิชาการแก่ชุมชน
ในการให้บริการวิชาการแก่สังคม จำนวน 5 โครงการดังนี้
1. โครงการศูนย์วิจัยนาโนวิทยาและนาโนเทคโนโลยี
ได้รับงบประมาณจำนวน 26,450,000.-บาท เป็นโครงการที่มีความร่วมมือจากหลายสาขาวิชา
ได้แก่ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
และศูนย์วิจัยและพัฒนาวัตถุดิบยาเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านนาโนวิทยาและนาโนเทคโนโลยี
เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายนาโนวิทยาและนาโนเทคโนโลยี
โดยได้จัดหาเครื่องโฟกัสไอออนบีม (FIB) มูลค่า
21 ล้านบาท ผลการดำเนินงานของโครงการ คือ
- สร้างเครือข่ายโดยการจัดประชุมสัมมนาเรื่อง
นวัตกรรม : การประยุกต์เทคโนโลยีนาโนทางยา
เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ระหว่างวันที่
9 11 สิงหาคม 2549 ณ ห้องแสนตอ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้เข้าร่วมสัมมนา
จำนวน 150 คน จากองค์กรจำนวน 25 องค์กร
- ผลิตนักวิจัยทางด้านนาโนวิทยาและนาโนเทคโนโลยีทั้งระดับปริญญาโทและ
ปริญญาเอก จำนวน 26 คน
- มีการวิจัยต้นแบบที่เกี่ยวข้องทางด้านนาโนวิทยาและนาโนเทคโนโลยี
จำนวน 33 ชิ้นงาน
2. โครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ
ได้รับงบประมาณ
จำนวน 3,000,000.-บาท เป็นโครงการที่ดำเนินการหลายสาขาวิชา
เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
มีผลการดำเนินงานของโครงการดังนี้
- จัดอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนในภาคเหนือตอนบน
จำนวน 23 โครงการ และมีชุมชนที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้
จำนวน 468 ชุมชน
- ผลิตนักวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
จำนวน 13 คน
3. ศูนย์วิจัยและบริการจีโนมพืชเศรษฐกิจ
ได้รับงบประมาณ
จำนวน 3,600,000.-บาท ดำเนินงานโดยภาควิชาชีววิทยา
ผลการดำเนินงานของโครงการ คือ
- มีการดำเนินงานวิจัย จำนวน 10 โครงการ
- มีการจัดฝึกอบรม การบริการให้คำปรึกษา
การบริการฝึกทักษะทางด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
และการปรับปรุงพันธุ์โดยเทคนิคทางโมเลกุล
- มีการนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการต่าง
ๆ
4. ศูนย์ข้อมูลน้ำบาดาลภาคเหนือ
ได้รับงบประมาณ
จำนวน 3,500,000.-บาท เป็นโครงการที่ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีน้ำบาดาลที่เหมาะสมกับสภาพอุทกวิทยาของภาคเหนือและเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านน้ำบาดาลให้กับชุมชนและสังคม
ผลการดำเนินงานของโครงการคือ
- จัดทำฐานข้อมูล จำนวน 1 ฐาน
- มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ด้านน้ำบาดาล
จำนวน 2 ครั้ง
- มีการดำเนินงานวิจัย จำนวน
2 ชิ้นงาน
5. บริษัทเสมือนเพื่อรับพัฒนาซอฟแวร์
ได้รับงบประมาณ จำนวน 2,000,000.-บาท ดำเนินงานโดยภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ผลการดำเนินงาน คือ
- มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ จำนวน
99 คน
- มีผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ จำนวน 4
โปรแกรม
2.3. การจัดประชุมวิชาการ/การจัดบรรยายพิเศษ
คณะวิทยาศาสตร์ได้เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ให้แก่ นักวิชาการ นักเรียน นิสิต/นักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป
ดังนี้
1. ประชุมระดับชาติ เรื่อง
การประชุมฟิสิกส์ไทยระดับปริญญาบัณฑิต ระหว่างวัน
ที่ 8 9 ธันวาคม 2548 ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว
จังหวัดเชียงใหม่
2. ประชุมวิชาการ เรื่อง
การบริหารจัดการข้อมูลสถิติสำหรับงานวิจัยทาง
วิทยาศาสตร์สุขภาพ ระหว่างวันที่ 16 17 กุมภาพันธ์
2549 ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. ประชุมวิชาการแห่งชาติทางวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเชิงคอมพิวเตอร์ประจำปี
ครั้งทึ่ 10 ระหว่างวันที่ 22-24 มีนาคม 2549 ณ
ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. จัดบรรยายพิเศษเรื่อง การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์
วันที่ 24 กรกฎาคม 2549 ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว
จ.เชียงใหม่ โดย สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แก่คณาจารย์
นักศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนผู้สนใจทั่วไป
ทั้งยังเป็นเวทีเพื่อเลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าร่วมกัน
5. จัดบรรยายพิเศษเรื่อง นิยามใหม่ของระบบสุริยะกับดาวพลูโต วันที่ 30 กันยายน 2549
ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย คณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
เพื่อให้ความรู้พื้นฐานด้านดาราศาสตร์และระบบสุริยะ และเพื่อเป็นการให้ข้อมูลในการการเปลี่ยนสถานภาพของดาวพลูโต
ผู้เข้าร่วมฟังประกอบด้วย คณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา องค์กรต่าง ๆ ตลอดจนประชาชนที่สนใจ
นอกจากนี้
คณะวิทยาศาสตร์ได้ไปร่วมแสดงนิทรรศการกิจกรรมของคณะฯในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ประจำปี 2549 ระหว่างวันที่ 17 19 สิงหาคม 2549
ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
Chiang Mai Journal of
Science และข่าวสารคณะวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดทำวารสารเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ในชื่อ Chiang Mai Journal of Science เป็นวารสารที่มีกำหนดพิมพ์ทุก
4 เดือน จัดเป็นวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
โดยได้รับการบรรจุไว้ในฐานข้อมูลสากล Chemical
Abstracts, SciFinder Scholar, BIOSIS Previews,
Biological Abstracts, and Zentralblatt fur
Mathematik จึงกล่าวได้ว่า วารสารดังกล่าวเป็นเวทีหนึ่งของนักวิจัยทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.science.cmu.ac.th/journal-science/josci.html
นอกจากนี้ คณะวิทยาศาสตร์ยังได้จัดทำข่าวสารคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ
อย่างต่อเนื่อง
ศูนย์วิจัยและบริการจุลทรรศนศาสตร์อิเล็กตรอน
เป็นศูนย์วิจัยที่จัดตั้งโดยคณะวิทยาศาสตร์และอยู่ภายใต้การบริหารงานของสถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สวท-มช.) ตั้งแต่ปี 2545
เป็นต้นมา เพื่อเป็นหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ความสามารถด้านวิชาการรองรับการเรียนการสอนและการวิจัยในหลักสูตรทั้งปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
งานวิจัยในโครงการต่าง ๆ ของคณาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์
รวมทั้งให้บริการวิชาการแก่หน่วยงานภาครัฐทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน
ซึ่งในปี 2549 ได้ให้บริการรวมทั้งหมด 770 ครั้ง
มีรายได้จากการให้บริการ จำนวน 1,559,154.-บาท
ปัจจุบันมีเครื่องมือชั้นสูงที่สามารถให้บริการทั้งด้านการเรียนการสอนและการหารายได้จากหน่วยงานต่าง
ๆ ที่มาใช้บริการ นอกจากจะให้บริการแล้วยังได้จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการในการใช้กล้องจุลทรรศน์
และยังมีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมเพื่อศึกษาการใช้งานของกล้องจุลทรรศน์ในหน่วยงานเป็นประจำ
สถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สวท-มช.)
คณะวิทยาศาสตร์ มีหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะฯ
คือ สถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(สวท-มช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้บริการวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งจากการให้บริการไปใช้ในการพัฒนาและเสริมสร้างคุณภาพทางวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์
การให้บริการที่ได้ดำเนินการ คือ การจัดอบรมให้ความรู้
แก่ผู้สนใจ การให้บริการด้านรับวิเคราะห์ตัวอย่าง
และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. การบริการด้านการวิเคราะห์
ทดสอบ จำนวน 458 ครั้ง
2. จัดอบรมให้ความรู้ ดังนี้
2.1 จัดค่ายวิทยาศาสตร์
5 วันกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่
4 และ 5 โดย สวท-มช. ร่วมกับภาควิชาคณิตศาสตร์
เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์และธรณีวิทยา
2.2 จัดอบรมเรื่อง How to Choose Instruments
for Quality Control? โดย สวท-มช. จัด ให้กับบริษัทเอกชน
(Metrohm Siam Ltd.)
2.3 จัดอบรมเรื่อง อัญมณีชนิดที่สำคัญ การตรวจพิสูจน์ทับทิม
แซปไฟร์สังเคราะห์ การ
ตรวจพิสูจน์เพชรเลียนแบบจากเพชรแท้ โดย สวท-มช. ร่วมกับภาควิชาธรณีวิทยา
2.4 จัดอบรมเรื่อง เทคนิคการเลือกซื้ออัญมณี (ทับทิม แซปไฟร์ มรกตและหยก) จำนวน
2 ครั้ง โดย สวท-มช. ร่วมกับภาควิชาธรณีวิทยา
2.5 จัดอบรมเรื่อง การพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการไทยเข้าสู่มาตรฐานสากล:ความร่วม
ใจเพื่อเพิ่มคุณภาพสินค้าไทย โดย สวท-มช. ร่วมกับศูนย์วิจัยแห่งชาติด้านการ จัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.6 จัดอบรมเรื่อง กรรมวิธีการผลิตลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง จำนวน 5 ครั้ง
โดย สวท-มช. ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน/สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่และ
สหกรณ์การเกษตรทำไร่ไชยปราการ
2.7 จัดอบรมเรื่อง Pipette Clinic by Mondotech (Thailand) Co.,Ltd.
โดย สวท-มช. จัดให้กับบริษัทเอกชน
2.8 จัดอบรมเรื่อง เครื่องอบแห้งลำไยแบบต่าง
ๆ โดย สวท-มช. จัดให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์
มช.
2.9 สัมมนาทางวิชาการ การสอบเทียบและการดูแลรักษาเครื่องชั่งในโรงงานและห้องปฏิบัติการ
โดย สวท-มช. ร่วมกับสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
3.
งานเทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ ได้ให้บริการแก่องค์กรทั้งของภาครัฐและเอกชน
|