คณะวิทยาศาสตร์
ได้ดำเนินการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างทั่วถึง
โดยความร่วมมือของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา โดยการจัดกิจกรรมหรือเข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณีท้องถิ่น
เช่น การหล่อเทียนและถวายเทียนพรรษาในวันเข้าพรรษา การทำโคมและกระทงในเทศการลอยกระทง
การทอดผ้าป่า การทำบุญประจำปี การรดน้ำดำหัว ฯลฯ จำนวน 15 โครงการ
กิจกรรม |
ร่วมทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ |
19
ตุลาคม 2548 |
ร่วมงานกฐินมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
29
ตุลาคม 2548 |
โคมลอยกับประเพณียี่เป็ง |
16
พฤศจิกายน 2548 |
งานทำบุญคณะประจำปี |
30
ธันวาคม 2548 |
ร่วมขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์ |
13
เมษายน 2549 |
พิธีดำหัวผู้อาวุโส |
21
เมษายน 2549 |
พิธีดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดี |
21
เมษายน 2549 |
ร่วมงานทำบุญเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ |
8
มิถุนายน 2549 |
พิธีไหว้ครู |
15
มิถุนายน 2549 |
พิธีหล่อเทียนพรรษา |
28
มิถุนายน 2549 |
พิธีบายศรีสู่ขวัญและงานขันโตก |
5
กรกฎาคม 2549 |
พิธีถวายเทียนพรรษา |
5
กรกฎาคม 2549 |
พิธีถวายพานพุ่มสักการะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
18
สิงหาคม 2549 |
ร่วมพิธีวางพวงมาลาวันมหิดล
คณะแพทยศาสตรE/FONT |
24
กันยายน 2549 |
พิธีแสดงมุทิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุราชการ |
27
กันยายน 2549 |
โครงการวิจัยด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
จำนวน 8 โครงการ ดังนี้
ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
โครงการ การบูรณาการข้อมูลธรณีฟิสิกส์
ธรณีวิทยา ตะกอนวิทยาและการลำดับชั้นหิน เพื่อใช้เป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงเมืองโบราณเวียงหนองหล่ม
อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยมี รศ.ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์
เป็นหัวหน้าโครงการ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินปี2548
ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
1. โครงการ การวิเคราะห์เพื่อหามลพิษทางอากาศในอนุภาคฝุ่นในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน
โดยมี ผศ.ดร.มงคล รายะนาคร จากภาควิชาเคมี เป็นหัวหน้าโครงการ ได้รับงบประมาณจาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ปี 2548-2549
2. โครงการ พฤกษศาสตร์พื้นบ้านและพรรณพฤกษชาติในเขตศูนย์พัฒนาโครงการหลวง
วัดจันทร์ โดยมี รศ.ดร. ชูศรี ไตรสนธิ เป็นหัวหน้าโครงการ ได้รับงบประมาณจากโครงการหลวง
ปี 2549
3. โครงการ การฟื้นฟูป่าเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมี อ.ดร.
ประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์ เป็นหัวหน้าโครงการ ได้รับงบประมาณจากโครงการหลวง ปี 2549
คณะวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงการเชื่อมโยงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ากับภารกิจหลักด้านการเรียนการสอน
การวิจัย และการบริการวิชาการแก่ชุมชน ได้แก่
- การจัดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
เช่น สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติ
พันธุ์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มีบทบาทต่อชุมชนภายนอกผ่านงานวิจัยของคณาจารย์และนักศึกษา
- มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชา
เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมีอุตสาหกรรม ฯลฯ ที่เชื่อมโยง
กับวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีมาแต่ช้านาน
เช่น
- การวิจัยกลุ่มดาวนักษัตรล้านนา ดาราศาสตร์กับกำแพงเมืองเชียงใหม่
ประวัติศาสตร์ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่หายากในประเทศไทย
- แบบสมมาตรของลายดั้งเดิมในซิ่นตีนจกจากกลุ่มวัฒนธรรมไทยวนอำเภอแม่แจ่ม
- ศูนย์ทดสอบคุณภาพผ้า
ภายใต้โครงการ Lanna Fashion ของจังหวัดเชียงใหม่
- งานวิจัยและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูป่า
โดยดำเนินการผ่านหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า
- มีการจัดกิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชนที่เชื่อมโยงกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม เช่น การอบรมการทำไวน์และสุราพื้นบ้าน การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสาหร่ายพิษและสารพิษในแหล่งน้ำจืด
เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่เชื่อมโยงกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
รวมทั้งการอนุรักษ์ ส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนเกษตรกรรม โดยมีวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเป็นพื้นฐาน
เช่น โครงการสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้าน ค่ายวิทยาศาสตร์ในวิถีชุมชน เป็นต้น
|