การลงนามความร่วมมือทางวิชาการ
คณะวิทยาศาสตร์มีความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรและสถาบันต่าง ๆ จากต่างประเทศในหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางด้านการศึกษา ดูงาน ฝึกอบรม และการทำวิจัยร่วมกัน รูปแบบความร่วมมือดังกล่าวมีทั้งประเภทที่มีการลงนามร่วมกันในสัญญาความร่วมมือ และไม่ได้มีการลงนามในสัญญาอย่างเป็นทางการ โดยความร่วมมือเหล่านี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ
- เพื่อความร่วมมือในการทำวิจัยร่วมกัน
- เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์
- เพื่อพัฒนาคณาจารย์และนักวิจัยในคณะวิทยาศาสตร์
สถาบัน/องค์กรต่างประเทศที่คณะวิทยาศาสตร์ได้ร่วมลงนามด้านความร่วมมือทางวิชาการในปัจจุบันมีดังนี้
1
. สหราชอาณาจักร (United Kingdom)- มหาวิทยาลัยลีดส์ (University of Leeds)
- วิทยาลัยเบิร์กเบค มหาวิทยาลัยลอนดอน (Birkbeck College, University of London)
- มหาวิทยาลัยบาธ (Bath University)
- มหาวิทยาลัยโคเวนทรี (University of Coventry)
-มหาวิทยาลัยเอดินเบอร์ (University of Edinburgh)
2.
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (Federal Republic of Germany)- มหาวิทยาลัยซาร์แลนด์ (Saarland University)
3.
ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน (The People Republic of China)- หอดูดาวยูนนาน (Yunan Observatory Academia Sinica) คุนหมิง และ หอดูดาวปักกิ่ง (Beijing Astronomical Observatory)
- มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้ (Shanghai University of Science and Technology)
- ศูนย์ตรวจสอบระยะไกลทางธรณีวิทยา กระทรวงธรณีวิทยาและทรัพยากรแร่ (Center for Remote Sensing in Geology, Ministry of Geology and Mineral Resources)
- สำนักงานธรณีวิทยาและทรัพยากรแร่ ยูนนาน (Yunan Bureau of Geology and Mineral Resources)
- มหาวิทยาลัยจี้หนาน (Jinan University)
4.
ประเทศแคนาดา (Canada)- มหาวิทยาลัยแคลการี (University of Calgary)
5.
ประเทศญี่ปุ่น (Japan)- มหาวิทยาลัยโอซากา (Osaka University (ISIR))
6.
ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA)- มหาวิทยาลัยฮูสตัน (University of Houston)
7.
ประเทศฝรั่งเศส (France)- มหาวิทยาลัยมาร์เซย์ (Universite de Provence Marscille)
/ / / ความร่วมมือกับต่างประเทศ