โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก
ตามที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัยและสำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีจัดทำโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกเพื่อผลิตนักวิจัยระดับปริญญาเอกในระยะที่หนึ่ง 5,000 คน ใน 15 ปี โดยจะเริ่มให้ทุนในปี 2541 นั้น ปรากฏว่าอาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์ได้รับทุนเพื่อเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัยปริญญาเอกในปี 2541 ทั้งสิ้น 17 ทุน จากจำนวนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับ 24 ทุน ทั้งนี้แยกเป็นสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ 10 ทุน สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 5 ทุน และสาขาสิ่งแวดล้อม-เทคโนโลยี 2 ทุน
นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่นสามารถสมัครขอรับทุนผู้ช่วยวิจัยโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกในสาขาวิชาเหล่านี้ได้ ซึ่งทุนนี้จะให้ค่าใช้จ่ายประจำเดือน ค่าหน่วยกิต ค่าวิจัย และค่าใช้จ่ายในการศึกษาวิจัยในต่างประเทศเป็นเวลา 1 ปีด้วย รวมทั้งสิ้นประมาณทุนละ 2 ล้านบาท ทั้งนี้รายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัยและแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ของทั้ง 17 ทุนเป็นดังนี้
1.
ศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ ธรรมพงษา สาขาวิชาคณิตศาสตร์ 2 ทุนแนวทางการทำวิทยานิพนธ์
เรื่อง พรินซิพอลลี่-อินเจคทีพมอดูล และ/หรือ
เรื่อง ซิมเพิล-อินเจคทีพมอดูล และ/หรือ
เรื่อง เรขาคณิตของปริภูมิโคเธ-บอชเนอร์
2
. ศาสตราจารย์ ดร.ทวี ตันฆศิริ สาขาวิชาฟิสิกส์ 2 ทุนแนวทางการทำวิทยานิพนธ์
เรื่อง การประยุกต์ทางไฟฟ้าของแบเรียมติตาเนตเซรามิกส์ที่มีแบเรียม/ติตาเนต อัตราส่วนต่าง ๆ และ
เรื่อง สมบัติทางไฟฟ้าของวัสดุผสมเพียโซเซรามิก-พอลิเมอร์
3.
รองศาสตราจารย์ ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง สาขาวิชาฟิสิกส์ 2 ทุนแนวทางการทำวิทยานิพนธ์
เรื่อง อันตรกิริยาระหว่างไอออนกับของแข็ง และ
เรื่อง การศึกษาปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ปลดนิวตรอนทุติยภูมิโดยการเหนี่ยวนำของนิวตรอนพลังงาน 14 Mev
4.
รองศาสตราจารย์ ดร.เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร สาขาวิชาธรณีวิทยา 2 ทุนแนวทางการทำวิทยานิพนธ์
เรื่อง อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อการสะสมตัวของแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติในภาคเหนือของประเทศไทย
5.
รองศาสตราจารย์ ดร.ยืนยง ปัญจสวัสดิ์วงศ์ สาขาวิชาธรณีวิทยา 1 ทุนแนวทางการทำวิทยานิพนธ์
เรื่อง ธรณีเคมี ศิลาวิทยา และความสำคัญทางด้านเทคโทนิกของหินอัคนีพุชนิดเมฟิก ตามแนวหินภูเขาไฟเชียงใหม่ ภาคเหนือของประเทศไทย
6
. รองศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ สาขาวิชาเคมี 1 ทุนแนวทางการทำวิทยานิพนธ์
เรื่อง การพัฒนาระบบโฟลอินเจคชันที่ใช้ในการแยกทางเอ็กแทรกทีฟโครมาโทกราฟี
7.
รองศาสตราจารย์ ดร.ด้วง พุธศุกร์ สาขาวิชาเคมี 1 ทุนแนวทางการทำวิทยานิพนธ์
เรื่อง การเสริมฤทธิ์สนของสารสำคัญของพืชสมุนไพร
8.
รองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ อนันตลาโภชัย สาขาวิชาชีววิทยา 1 ทุนแนวทางการทำวิทยานิพนธ์
เรื่อง การศึกษาความแปรปรวนทางพันธุกรรมระดับโมเลกุลของลิ้นจี่ (Litchi spp.) โดยเทคนิคทางอณูชีววิทยา
9.
รองศาสตราจารย์ ดร.จินดา ศรศรีวิชัย สาขาวิชาชีววิทยา 1 ทุนแนวทางการทำวิทยานิพนธ์
เรื่อง การศึกษาคุณสมบัติทางสรีระ-กายภาพ-เคมี ที่เป็นองค์ประกอบ คุณภาพของผลิตผลสดพืชสวนและการควบคุมดัดแปลง
10.
อาจารย์ ดร.ชูศรี ไตรสนธิ สาขาวิชาชีววิทยา 1 ทุนแนวทางการทำวิทยานิพนธ์
เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์พืชบนดอยภูคา จังหวัดน่าน
11.
รองศาสตราจารย์ ดร.วิไลวรรณ อนุสารสุนทร สาขาวิชาชีววิทยา 1 ทุนแนวทางการทำวิทยานิพนธ์
เรื่อง ศึกษาทบทวนทางอนุกรมวิธานของพืชดอกบางวงศ์หรือบางสกุลใน ประเทศไทย
12.
รองศาสตราจารย์ ดร.สายสมร ลำยอง สาขาวิชาชีววิทยา 1 ทุนแนวทางการทำวิทยานิพนธ์
เรื่อง ผลของอุณหภูมิต่อกระบวนการไกลโคซิเลชัน การหลั่งและการทำงานของเอนไซม์จากเชื้อรา Thermoascus sp. SLI6W หรือ เรื่อง การศึกษาและรวบรวมความหลากหลายของราที่อาศัยอยู่กับพืชสกุลกล้วยในประเทศไทย
13.
รองศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์ ฟูตระกูล สาขาวิชาเคมี 1 ทุนแนวทางการทำวิทยานิพนธ์
เรื่อง การปรับปรุงเอนไซม์ไลเปสทนความร้อนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม
14
. รองศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี คณาสวัสดิ์ สาขาวิชาเคมี 1 ทุนแนวทางการทำวิทยานิพนธ์
เรื่อง การเตรียมปาเปนจากยางมะละกอเพื่ออุตสาหกรรมผงซักฟอก หรือ เรื่อง การใช้ไลเปสตรึงเพื่อการกำจัดไขมันและน้ำมันในน้ำเสียจาก โรงงาน
/ / / การเรียนการสอน