1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย

ห้องปฏิบัติการวิจัยสรีรวิทยาการสืบพันธุ์

Reproductive Physiology Research Lab

ภาควิชา : ชีววิทยา

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

รองศาสตราจารย์ สาลิกา อริธชาติ

ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย

ผศ.ดร. ชโลบล วงศ์สวัสดิ์

อาจารย์ สุภาพ แสนเพชร

อาจารย์ กนกพร กวีวัฒน์

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

การศึกษาวิจัยทางสรีรวิทยาการสืบพันธุ์ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาในการเพิ่มผลผลิตของสัตว์ หรือควบคุมแนวทางการผลิต ให้เป็นไปตามความต้องการของภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรของไทย มักจะเลี้ยงและผลิตสัตว์ไปตามธรรมชาติ ผลผลิตจึงให้ผลประโยชน์ไม่มาก ถ้ามีการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางสรีรวิทยาการสืบพันธุ์ให้มากขึ้น จะเป็นการช่วยพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้แนวทางการผลิตสัตว์ออกมาให้ได้ประโยชน์มากที่สุด และลงทุนต่ำ จะนับว่าเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

1. เพื่อค้นคว้าและวิจัยในแง่สรีรวิทยาการสืบพันธุ์ของสัตว์ เพื่อประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิต หรือควบคุมผลผลิตของสัตว์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย

2. ค้นคว้าวิจัยการใช้สมุนไพร ในการคุมกำเนิดสัตว์ การกระตุ้นการสืบพันธุ์ในสัตว์ กระตุ้นการหลั่งน้ำนม ฯลฯ

3. ศึกษาค้นคว้าพิษของสมุนไพรบางชนิด ที่ใช้ในการกระตุ้นและยับยั้งการสืบพันธุ์ในสัตว์

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่

1. การใช้สมุนไพรในการคุมกำเนิดสัตว์

2. การใช้สมุนไพรกระตุ้นการหลั่งน้ำนม

3. การศึกษาพิษของสมุนไพรบางชนิดที่ใช้คุมกำเนิดโดยวิธี micronucleus test และ Dominant Lethal Test

4. การผสมข้ามพันธุ์กบในจีนัส Rana

6. อุปกรณ์เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว

1. เครื่องตรวจการตั้งท้องของสัตว์

2. เครื่องตรวจนับเม็ดเลือด

3. เครื่องสกัดสาร (Soxhlet extractor)

4. rotary evaporator

5. เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง

6. ตู้อบควบคุมอุณหภูมิ

7. วัสดุเครื่องแก้วและสารเคมีอื่น ๆ

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

ก. งานวิจัยที่เผยแพร่แล้ว

1. S. Aritajat. The Effect off Amphetamine on Spermatogensis in Rat. J. Sci. Fac. CMU. 10(2) : 1983

2. S. Aritajat A. Quantitative Study of Gonadotrophs in theAdenophypophysis of Adult Rat Treated with Amphetamine. J. Sci. Fac. CMU. 10(2) : 1985.

3. Aritajat, S. Lacharojana, R. and Fongkaew, B. Induction of Ovulation by Pituitary Extract in Breeding Season and Artificial Fertilization in Frog (Rana sp.). J. Sci. Fac. CMU. 17. 1-10. 1990.

4. Aritajat, S. Seasonal Fluctuation of Gonhadotrophs in the Adenohypophysis of Frog (Rana sp.) การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ครั้งที่ 27. 1990.

5. สาลิกา อริธชาติ ระวิวรรณ ลาชโรจน์ และบุญเกตุ ฟองแก้ว. การกระตุ้นการตกไข่ของกบ (Rana rugulosa) ด้วยสารสกัดต่อมใต้สมองปลา. การประชุมของสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16. 2534.

6. กนกพร กวีวัฒน์ และยุทธนา สมิตะสิริ. (2534) ผลของน้ำสกัดและกากจากการสกัดครั้งที่ 6 ของกวาวเครือขาวต่อมดลูกและต่อมน้ำนมของหนูถีบจักรที่ตัดรังไข่. การประชุม วทท. ครั้งที่ 17 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

7. กนกพร กวีวัฒน์ และยุทธนา สมิตะสิริ. (2535) ผลของน้ำสกัดจากใบกวาวเครือขาวต่อการสืบพันธุ์และผลข้างเคียงต่อหนูถีบจักร. การประชุมวทท. ครั้งที่ 18. ศูนย์ประชุมสิริกิตต์ กรุงเทพฯ

8. กนกพร กวีวัฒน์ สุทัศน์ สุภาษี ยุทธนา สมิตะสิริ และนริทธิ์ สีตะสุวรรณ. (2536) ปริมาณการบริโภคอาหารของนกพิราบ (Columba sp.) การประชุมวทท. ครั้งที่ 19. โรงแรมดุสิต เจ.บี. หาดใหญ่ สงขลา.

9. ยุทธนา สมิตะสิริ และกนกพร กวีวัฒน์ (2535) ผลของกวาวเครือขาวต่อระบบสืบพันธุ์ของนกพิราบ. การประชุมวทท. ครั้งที่ 18. ศูนย์ประชุมสิริกิตต์ กรุงเทพฯ.

10. กนกพร กวีวัฒน์ ยุทธนา สมิตะสิริ และวรรณ์ธนา ขนันไทย (2537) ผลของสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิดต่อการสืบพันธุ์ของหนูขาวเพศเมีย. การประชุม วทท. ครั้ง20. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา กรุงเทพฯ

11. กนกพร กวีวัฒน์ ยุทธนา สมิตะสิริ และวรรณ์ธนา ขนันไทย (2537) ผลของสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิดต่อการสืบพันธุ์ของหนูขาวเพศผู้. การประชุมวิทยาศาสตร์สุขภาพครั้งที่ 12. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

12. สุดา เสาวคนธ์ และสาลิกา อริธชาติ. 2538. ผลของน้ำสกัดจากผงป่นแห้งของเปลือกต้นนมนางต่อการเปลี่ยนแปลงของต่อมน้ำนม และการหลั่งน้ำนมของหนูขาวที่ได้รับกวาวเครือขาว การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ประเทศไทย ครั้งที่ 21 ชลบุรี.

13. สาลิกา อริธชาติ ยุทธนา สมิตะสิริ กนกพร กวีวัฒน์ และด้วง พุธศุกร์. 1996. ผลของสารสกัดด้วยน้ำจากต้นนมนาง (_Pouteria cambodiana_ Baehni) ต่อต่อมน้ำนมและการหลั่งน้ำนมในหนูขาว. วารสารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 23(2) : 29-30.

14. สาลิกา อริธชาติ กนกพร กวีวัฒน์ และวสันต์ มะโนเรือง. 2539. การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดจากพืชที่ใช้คุมกำเนิดบางชนิด โดยวิธีการตรวจไมโครนิวเคลียส. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ข. งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ

1. การผสมข้ามพันธุ์กบในจีนัส Rana (ทุนวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ 2539)

2. ผลของสารสกัดด้วยน้ำจากต้นนมนางต่อระดับฮอร์โมนในเลือดของหนูที่กดการหลั่งน้ำนมมาก่อน (ทุนวิจัยจากสถาบันแพทย์แผนไทย 2539)

3. การศึกษาทางฮีสโตเคมีของต่อมน้ำนม การต่อมหมวกไตในหนูที่ได้รับสารสกัดจากเปลือกต้นนมนาง (ทุนวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2540)

/ /การวิจัย / ห้องปฏิบัติการวิจัยและหน่วยวิจัย