1. ชื่อหน่วยวิจัย

สารประกอบดีบุก

TIN COMPOUNDS

ภาควิชา : เคมี

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

(1) ดร.วิจิตร รัตนพานี

ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย

(2) รศ.ธิติพันธ์ ทองเต็ม

(3) ดร.เสาวณีย์ รัตนพานี

สมาชิก

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตแร่ดีบุกรายใหญ่ของโลก ในแต่ละปีได้มีการส่งออกในราคาที่ถูกในรูปของแร่และโลหะดีบุกเป็นจำนวนมาก เป็นที่ทราบกันดีว่าสารประกอบดีบุกหลายชนิดได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น stannous chloride, stannous oxalate ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ สาร organotin บางชนิดเช่น trialkyl tin compounds ถูกนำไปใช้อุตสาหกรรมก่อสร้างใช้ทาไม้ป้องกันปลวก แมลงต่าง ๆ ได้ ปัจจุบันนี้สารประกอบดีบุกที่มีชื่อว่า zinc hydroxystannate (ZHS) และ zinc stannate (ZS) ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นสารป้องกันไฟ (fire retardants) และเป็นสารลดควัน โดยนำไปผสมกับสารโพลิเมอร์และวัสดุต่าง ๆ ซึ่งอาจจะช่วยลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างมาก ดังนั้นหากเราสามารถนำเอาดีบุกหรือแร่ดีบุกที่ผลิตได้ในประเทศมาใช้ในการเตรียมสารประกอบของดีบุกประเภทต่าง ๆ ก็คงจะเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก ทำให้ลดความจำเป็นในการสั่งซื้อและนำเข้าสารประกอบดีบุกต่าง ๆ ลงได้บ้าง

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

เพื่อศึกษาและพัฒนาวิธีการสังเคราะห์สารประกอบดีบุก เช่น Zinc hydroxystannate Zinc stannate และการประยุกต์สารเหล่านี้ในการป้องกันความรุนแรงที่เกิดจากไฟไหม้

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินอยู่

1. ได้ทำการสังเคราะห์สารประกอบดีบุก Zinc stannate และ Zinc hydroxystannate ให้ได้สารผลิตภัณฑ์ที่มีความบริสุทธิ์และ yield สูง

2. ได้ทำการสังเคราะห์สารประกอบดีบุกดังกล่าวในข้อ 1 จากแร่ดีบุก เช่น แร่ cassiterite ได้สำเร็จแล้ว

3. มีแผนที่จะนำสารที่เตรียมได้ไปผสมกับโพลิเมอร์เพื่อทดสอบคุณสมบัติการลดควัน

4. ได้ทำการทดสอบสมบัติการติดไฟ การลดควัน และสมบัติอื่น ๆ ของโพลิเมอร์ที่ได้ผสมสารเหล่านี้ลงไป

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว

อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ Atomic Absorption Spectrophotometer, I.R. Spectrophotometer เครื่อง X-ray เป็นต้น

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

- สามารถเตรียมสารประกอบดีบุกที่มีสมบัติในการลดควันและการเผาไหม้ได้ แต่ยังต้องศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการเตรียมให้ได้ดีขึ้น

- ผลงานส่วนหนึ่งได้ถูกนำไปเผยแพร่ในรูปการสัมมนาโครงการ พสวท. ทั่วประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ วทท.22 ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง

- กำลังจะส่งรายงานผลการวิจัยไปร่วมในงาน วทท. 23 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

/ /การวิจัย / ห้องปฏิบัติการวิจัยและหน่วยวิจัย