1. ชื่อหน่วยวิจัย

หน่วยวิจัยผงถ่านกัมมันต์เคลือบผิว

Surface Coating - Activated Carbon Reaearch Unit

ภาควิชา : เคมี

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

2.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรศักดิ์ วัฒเนสก์

ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย

2.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรืองศรี วัฒเนสก์

2.3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรอนงค์ อาร์คีโร

สมาชิก

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน ปัญหามลภาวะเป็นปัญหาใหญ่ที่สมควรต้องร่วมมือแก้ไข ผงถ่านกัมมันต์ (activated carbon) จัดเป็นสารดูดซับ (adsorbent) ที่นิยมใช้ในการดูดซับสารพิษ ทั้งที่อยู่ในสภาพที่เป็นแก๊สและของเหลว เช่นบรรจุในหน้ากากป้องกันไอพิษ ใช้เป็นสารกรองน้ำให้สะอาด ฯลฯ เป็นต้น เนื่องจากมีราคาถูก และมีประสิทธิภาพในการดูดซับที่ดี การเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับของผงถ่านกัมมันต์ สามารถทำได้โดยการเคลือบผิวผงถ่าน ด้วยสารอื่น ได้แก่สารประกอบเชิงซ้อนของโลหะบางประเภท ซึ่งปกติแล้วผงถ่านเคลือบผิวดังกล่าว มีราคาแพงและต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ กลุ่มผู้วิจัย จึงขอจัดตั้ง หน่วยวิจัยผงถ่านกัมมันต์เคลือบผิวขึ้น

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

4.1 เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ ของการเคลือบผิวผงถ่านกัมมันต์ด้วยสารประกอบเชิงซ้อนของโลหะบางตัว

4.2 เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของการดูดซับผงถ่านกัมมันต์เคลือบผิวที่เตรียมขึ้น

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่

ได้เริ่มดำเนินการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการเคลือบผิวของผงถ่านกัมมันต์ โดยการศึกษาเบื้องต้น จากผงถ่านกัมมันต์เคลือบผิวที่นำออกมาจากหน้ากากป้องกันแก๊สพิษ ที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ จากการตรวจสอบโดยใช้เทคนิคนิวตรอนแอคติเวชัน พบว่ามีสารประกอบเชิงซ้อนของโลหะบางตัว เช่น ทองแดง เงิน โครเมียมและเหล็ก เคลือบผิวอยู่ จึงได้ทำการวิเคราะห์หาปริมาณของโลหะดังกล่าวในผงถ่านกัมมันต์เคลือบผิว จากนั้นได้เริ่มทำการทดลองตรวจสอบสมบัติบางประการของสารประกอบเชิงซ้อน เพื่อหาสูตรโครงสร้างของสารประกอบ ที่จะใช้อธิบายสมบัติของการดูดซับที่เกิดขึ้น ขั้นตอนต่อไป ได้ทำการทดลองเพื่อหาลิแกนด์ที่จะใช้ในการเตรียมสารประกอบเชิงซ้อนกับโลหะ รวมทั้งหาวิธีและสภาวะที่เหมาะสมในการเคลือบผิวผงถ่านกัมมันต์ ก่อนที่จะทำการทดสอบประสิทธิภาพของการดูดซับแก๊สพิษ และสารพิษอื่นๆต่อไป

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว

6.1 UV - VIS Spectrophotometer

6.2 Atomic Absorption Spectrophotometer

6.3 pH - meter

6.4 Cf - 252 Neutron Source

6.5 HPGe Detector

6.6 NaI(Tl) Solid Scintillation Counter Detector

7. ผลสัมฤทธ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

ได้ทราบแนวทางเบื้องต้น ถึงความเป็นไปได้ของการการเคลือบผิวของผงถ่านกัมมันต์ ผลงานวิจัยที่ได้ดำเนินการแล้ว รวบรวมเป็นรายงานปัญหาพิเศษของนักศึกษาสาขาวิชาเคมี ดังนี้

7.1 นส. วิลาสินี ศรีสุวรรณ, การวิเคราะห์ปริมาณโครเมียม และเงิน ที่เคลือบบนถ่านกัมมันต์ในหน้ากากป้องกันไอพิษ, ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2538.

7.2 นส. ปฏิมา เมษประสาท, การวิเคราะห์ปริมาณเหล็กและทองแดง ที่เคลือบบนถ่านกัมมันต์ในหน้ากากป้องกันไอพิษ, ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2538.

7.3 นส. ฉัตราภรณ์ สุวรรณฉัตร, การศึกษาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างไอออนโลหะบางตัวกับไตรเอธิลีนไดอะมีน, ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2538.

7.4 นส. พูนศิริ ทิพยเนตร, การวิเคราะห์หาปริมาณคอปเปอร์ ที่เคลือบบนถ่านกัมมันต์ในหน้ากากป้องกันไอพิษ, ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ พ.ศ. 2539.

7.5 นส. สุนทรีย์ แสงสีโสต, การหาสูตรสารประกอบเชิงซ้อนชนิด AmBn โดยวิธีกราฟเส้นตรง, ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2539.

7.6 นส. สุกัญญา เขียวสะอาด, การดูดซับสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างไอออนของโลหะทองแดง (II) กับเอธิลีนไดอะมีนบนถ่านกัมมันต์, ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ พ.ศ. 2539.

/ /การวิจัย / ห้องปฏิบัติการวิจัยและหน่วยวิจัย