1. ชื่อหน่วยวิจัย |
หน่วยวิจัยสาหร่ายประยุกต์
Algal Applied Research Unit |
ภาควิชา : ชีววิทยา
2. สมาชิก : ประกอบด้วย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุวดี พีรพรพิศาล |
ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย |
2. รองศาสตราจารย์ ดร.อารยา จาติเสถียร |
สมาชิก |
3. หลักการและเหตุผล
ความก้าวหน้าของวิทยาการเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตพวกสาหร่าย (algae) กำลังรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์จากคุณค่าในเซลล์ของสาหร่ายเอง เช่น ทางด้านการแพทย์ เกษตรกรรม เภสัชกรรม ประมง และทางด้านโภชนาการในลักษณะของการศึกษาทางด้านเทคโนโลยี หรือทางด้านสิ่งแวดล้อมทางน้ำในลักษณะของการใช้สาหร่ายเป็นดัชนีทางชีวภาพ (bioindicator) ชี้ถึงคุณภาพของแหล่งน้ำนั้นก็กำลังเป็นที่สนใจกันอย่างกว้างขวาง และอีกประการหนึ่ง คือการจัดให้สาหร่ายเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในแหล่งน้ำโดยเฉพาะในเขตร้อน ซึ่งมีการกระจายทั้งชนิดและจำนวนมากกว่าในเขตอบอุ่น ดังนั้นการศึกษาความหลากหลาย (biodiversity) ของสาหร่ายจึงเป็นอีกจุดหนึ่งซึ่งควรจะให้ความสนใจเป็นอย่างสูง ในภาควิชาชีววิทยา มีการเรียนการสอนและงานวิจัยทางด้านสาหร่ายมากพอสมควร ดังนั้นการจัดตั้งหน่วยวิจัยสาหร่ายประยุกต์จึงเป็นสิ่งที่ควร กระทำและควรดำเนินการต่อไปในอนาคตอย่างต่อเนื่อง
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ในหน่วยวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลักในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายอยู่ 3 ข้อใหญ่ ๆ คือ
4.1 วิจัยเกี่ยวกับการนำสาหร่ายขนาดเล็ก (microalgae) ของสายพันธุ์ท้องถิ่นมาคัดเลือกสายพันธุ์ เพาะ--เลี้ยงในสูตรอาหารต่าง ๆ และศึกษาในแง่คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายชนิดนั้น ๆ กับนำไปประยุกต์ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งอาหารเสริมของคน โดยมีเป้าหมายจะรวบรวมสายพันธุ์ของสาหร่ายขนาดเล็กที่มีประโยชน์ให้เป็นคลังสาหร่ายของเขตภาคเหนือตอนบน
4.2 เพาะเลี้ยงสาหร่ายที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น สาหร่ายเกลียวทอง (Spirulina platensis) ในน้ำเสีย-จากโรงงานอุตสาหกรรม แล้วนำไปใช้ในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ หรือนำไปประยุกต์เป็นอาหารเสริมของคนได้ต่อไป
4.3 วิจัยเกี่ยวกับการนำสาหร่ายน้ำจืดมาเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพของน้ำในแหล่งน้ำจืดในเขตภาคเหนือ
4.4 ศึกษาความหลากหลายของชนิดของสาหร่ายน้ำจืดในเขตภาคเหนือ
5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1 เก็บรวบรวมสายพันธุ์ของสาหร่ายขนาดเล็กที่มีคุณค่าทางโภชนาการในเขตภาคเหนือตอนบนอย่างต่อเนื่อง
5.2 ศึกษาคุณภาพของน้ำโดยการใช้สาหร่ายเป็นดัชนี แหล่งน้ำที่กำลังศึกษาอยู่มีทั้งศึกษาเฉพาะหน่วย-วิจัยฯ และศึกษาร่วมกับกลุ่มวิจัยอื่น ๆ (ศูนย์วิจัยน้ำ, ภาควิชาชคมี และภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) แหล่งน้ำที่ศึกษามีดังนี้
- เขื่อนแม่กวง (เริ่มสิงหาคม 2538-กรกฏาคม 2540)
- อ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เริ่มเมษายน 2539-มีนาคม 2541)
- ลำน้ำแม่สา อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย (เริ่มมกราคม 2540--ธันวาคม 2543)
- อ่างเก็บน้ำ สวนหลวง ร.9 (เริ่มมิถุนายน-พฤศจิกายน 2540)
6. อุปกรณ์เครื่องมือที่มีอยู่แล้ว
- ชุดเก็บน้ำ
- เครื่องมือวัดคุณภาพน้ำพื้นฐาน
- กล้องจุลทรรศน์แบบเลนส์ประกอบ และ inverted microscope
- ตู้เพาะเลี้ยงสาหร่ายพร้อมอุปกรณ์การเลี้ยง
- ตู้บ่มเชื้อ, เก็บเชื้อ
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
7.1 ร่วมมือกับศูนย์วิจัยน้ำ โดยศึกษาทางด้านแพลงก์ตอนในโครงการ "การศึกษาตรวจสอบและติดตามคุณภาพน้ำในลำน้ำปิง ลำน้ำแม่แตง ลำน้ำแม่กลาง (อินทนนท์) ในรอบ 3 ปี จัดทำรายงานเรียบร้อยแล้ว
7.2 ช่วยวิจัยคุณภาพน้ำของสำนักงานเกษตรภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งทางด้านเคมี และการใช้สาหร่ายเป็นดัชนี จัดทำรายงานเรียบร้อยแล้ว
7.3 ร่วมมือกับภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศึกษาคุณภาพน้ำของแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำยวม และแม่น้ำปิงบางส่วน และศึกษาคุณภาพน้ำของจังหวัดลำพูน จัดทำรายงานเรียบร้อยแล้ว
7.4 ร่วมวิจัยกับนักวิจัยชาวญี่ปุ่น ในการศึกษาสาหร่ายในน้ำพุร้อนที่สามารถผลิตคาร์บอน-ออกไซด์ได้ดี ผลงานได้รับการตีพิมพ์
7.5 ร่วมโครงการ JSPS โดยวิจัยเกี่ยวกับการผลิตกาซไฮโดรเจนของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Scytonema sp. ณ มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2534 ผลงานได้รับการตีพิมพ์
7.6 ร่วมมือกับนักวิชาการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ทำงานวิจัยเรื่อง คุณค่าทางโภชนาการและการเพาะเลี้ยงสาหร่าย Spirogyra spp. ผลงานได้ไปแสดงที่การประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ 3rd Asia-Pacific Conference on Algal Biotechnology ณ โรงแรมภูเก็ต อาร์คาเดีย จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 7-10 พฤษภาคม 2540 (ผลงานดังแนบมา)
7.7 ร่วมในโครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของดอยเชียงดาว (ในส่วนของความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่าย) ทุนสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จัดทำรายงานเรียบร้อยแล้ว
7.8 เข้าร่วมเสนอผลงานในงาน วทท. ที่ผ่านมาหลายปี (2527-2533, 2538-2540)
8. โครงการวิจัย (Research proposal) ที่ได้รับการสนับสนุนให้ทุนอุดหนุนการวิจัย
8.1 โครงการวิจัยเรื่อง "คุณภาพน้ำ การเจริญตามฤดูกาลและการกระจายของแพลงตอนพืช ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวง เชียงใหม่" ทุนความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-ออสเตรีย จาก คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ ประเทศไทยและออสเตรีย เริ่มทำการวิจัยตั้งแต่สิงหาคม 2538-กรกฏาคม 25400
8.2 โครงการวิจัยเรื่อง "การใช้แพลงตอนพืชเป็นดัชนีชี้คุณภาพของน้ำในอ่างแก้ว มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่" ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มทำการวิจัยตั้งแต่เมษายน 2539-มีนาคม 25401
8.3 โครงการวิจัยเรื่อง ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และ benthic algae ในลุ่มน้ำแม่สา อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ทุนโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในปรเทศไทย (เริ่มทำการวิจัยตั้งแต่มกราคม 2540-ธันวาคม 2543)