1. ชื่อหน่วยวิจัย |
พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
Ethnobotany |
ภาควิชา : ชีววิทยา
2. สมาชิก : ประกอบด้วย
( 1 ) นางชูศรี ไตรสนธิ |
ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย |
( 2 ) นายปริทรรศน์ ไตรสนธิ |
สมาชิก |
3. หลักการและเหตุผล
การดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของอารยธรรมตลอดมาจนปัจจุบันในกลุ่มชนพื้นเมืองของท้องถิ่นต่าง ๆ ได้อาศัยปัจจัยหลักจากธรรมชาติที่อยู่รอบตัวซึ่งส่วนใหญ่จะได้จากพืช การเรียนรู้ที่จะนำพืชมาใช้ประโยชน์เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงเพื่อการอยู่รอดในธรรมชาติ โดยที่อาจมีการดัดแปลงในบางสิ่งบางอย่างด้วยสติปัญญาความสามารถของกลุ่มชนแต่ละกลุ่มเพื่อให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น ความรู้และประสบการณ์เหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดให้ชนรุ่นหลัง สืบต่อกันมาเป็นทอด ๆ ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน เป็นภูมิปัญญาเฉพาะของแต่ละกลุ่ม เรียกกันว่า ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
ในภาคเหนือของประเทศไทยมีชนพื้นเมืองเผ่าต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งการดำรงชีวิตยังคงมีลักษณะที่พึ่งพาอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก แต่โดยที่ความเจริญและเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้แพร่เข้าไปยังชนพื้นเมืองเหล่านี้อย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีทางในการดำรงชีวิตเปลี่ยนไป และกำลังละทิ้งภูมิปัญญาพื้นบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์จากพืช หรือพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมากหากความรู้พื้นบ้านเหล่านี้ต้องสูญไป จึงควรที่จะต้องเร่งสำรวจและบันทึกความรู้พื้นบ้านเหล่านี้ไว้เพื่อที่จะนำมาวิจัยด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในภายหลัง ให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้นต่อไป
งานวิจัยทางด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในประเทศไทยกำลังได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่าง ๆ เพราะผลการวิจัยจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต หลักในการวิจัยพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของคณะผู้วิจัยจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังได้เน้นถึงการวิเคราะห์ผลจากการสำรวจเพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์พันธุ์พืชด้วย
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เพื่อศึกษาและรวบรวมพืชที่ชนกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศไทยนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและได้ถ่ายทอดกรรมวิธีการใช้มาแต่บรรพบุรุษโดยเน้นประชากรทางภาคเหนือ
5. อุปกรณ์ / เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
1. อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างพืช
2. อุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล
6. งานวิจัยที่ได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมา
ชูศรี ไตรสนธิ (2539) สีสันพรรณพืชบนดอยสุเทพ การสัมมนาข้อมูลเพื่อแนวทางการอนุรักษ์ ดอยสุเทพ ณ สำนัหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2 ตุลาคม 2539
จันทรารักษ์ โตวรานนท์ ปริทรรศน์ ไตรสนธิ และชูศรี ไตรสนธิ (2539) พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเย้า หมู่บ้านสันเจริญ จังหวัดน่าน การประชุม วทท.ครั้งที่ 22. กรุงเทพ ฯ
ชูศรี ไตรสนธิ (2539) พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเขาในภาคเหนือ การประชุมวิชาการ เรื่อง ทรัพยากรพืชของเชิงเขาหิมาลัย ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ จังหวัดเชียงใหม่
Trisonthi, C. (1996) Lawa and Tin in Northern Thailand: their Culture and Useful Plants. 5 th Congress on Ethnobotany. Nairo,Kenya.