1. ชื่อหน่วยวิจัย |
โปรโตซัว
Protozoology |
ภาควิชา : ชีววิทยา
2. สมาชิก : ประกอบด้วย
2.1 อาจารย์ ดร.อำนาจ โรจนไพบูลย์ |
ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย |
2.2 นายธนู มะระยงค์ 2.3 นายสบชัย สุวัฒนคุปต์ |
สมาชิก สมาชิก |
3. หลักการและเหตุผล
การศึกษาด้านโปรโตซัววิทยามีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณภาพของน้ำ ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับคนและสัตว์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในปัจจุบันมีการศึกษาถึงความหลากหลาย การดำรงชีวิต การนำเอาโปรโตซัวมาปรับปรุงน้ำเสียในแหล่งน้ำให้กลับสู่สภาวะปกติ ซึ่งเป็นวิธีทางธรรมชาติ ทำให้สามารถใช้น้ำเพื่อการอุปโภคและเพิ่มปริมาณสัตว์เศรษฐกิจ เช่น ปลา กบ หอย ให้มีในแหล่งน้ำที่คืนสภาพแล้ว เป็นต้น
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ศึกษาถึงความหลากหลาย การดำรงชีวิต และผลกระทบที่มีต่อคุณภาพน้ำของโปรโตซัว จากแหล่งน้ำในเขตภาคเหนือ ตลอดจนเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อให้เป็นที่รู้จัก และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้
5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
5.1 ศึกษาการกระจายของโปรโตซัวในลำน้ำแม่สา จังหวัดเชียงใหม่
5.2 ศึกษาความหลากหลายของโปรโตซัวบริเวณเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
6.1 กล้อง stereo และ compound microscope พร้อมอุปกรณ์วาดรูป ถ่ายรูป
6.2 อุปกรณ์เครื่องแก้ว
6.3 เครื่องมือวิเคราะห์น้ำแบบตั้งโต๊ะและแบบกระเป๋าหิ้ว
6.4 อุปกรณ์เก็บตัวอย่างน้ำ
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
7.1 Rojanapaibul, A., S. Suwattanakupt and T. Marayong. 1996. Distribution of sarcodina protozoa in some areas of Doi-Suthep Chiang Mai. 22nd Con. of Sci. and Tech. of Thailand. 670-671.
7.2 Marayong, T., O. Intritip and A. Rojanapaibul. 1996. Surver of ciliated protozoa in Huey-Kaew waterfall of Chiang Mai. 22nd Con. of Sci. and Tech. of Thailand. 668-669.