1. ชื่อหน่วยวิจัย |
การประยุกต์วิธี Drop Plate
Applications of Drop Plate Method |
ภาควิชา : ชีววิทยา
2. สมาชิก : ประกอบด้วย
1. รองศาสตราจารย์กำเนิด สุภัณวงษ์ |
ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย |
2. อาจารย์ฉัตรแก้ว กิติพรชัย |
สมาชิก |
3. หลักการและเหตุผล
วิธีนับจำนวนเซลล์ของจุลินทรีย์ที่ใช้กันอยู่เดิมเป็นวิธีที่ไม่ละเอียดถูกต้องและสิ้นเปลืองอาหารเลี้ยงเชื้อและแรงงาน ข้าพเจ้าได้พัฒนาวิธี Drop Plate จนเป็นวิธีที่สามารถนับจำนวนจุลินทรีย์ได้อย่างละเอียดถูกต้องโดยใช้อาหารเลี้ยงเชื้อเพียง 1 จาน (Cost Effective and Convenient Version of The Drop Plate Method. Journal of The Scirnce Society of Thailand. Vol.21 No. 1 May 1995).ซึ่งให้ผลในการนับเซลล์จุลินทรีย์ได้อย่างละเอียดถูกตัองนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง เช่น หาจำนวน Bacterophage การหาจำนวนสปอร์ของเชื้อราเป็นต้น เพื่อให้วิธี Drop Plate นี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับใช้เป็นวิธีมาตรฐาน จึงมีความจำเป็นที่จะทำการวิจัยและตีพิมพ์ผลงานที่ใช้วิธี Drop Plate ในการนับจำนวนเซลล์จุลินทรีย์
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เพื่อทำการเผยแพร่วิธี Drop Plate ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายจนมีการยอมรับใช้เป็นวิธีมาตรฐานโดยตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่เกิดจากการใช้วิธี Drop Plate บรรยายและฝึกสอนเทคนิคของวิธีการให้ผู้สนใจ
5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
ทำวิจัยนับจำนวนแบคทีเรียในอาหารและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยวิธี Drop Plate เปรียบเทียบกับวิธี Pour Plate เพื่อตีพิมพ์ผลงานวิจัยต่อไป
6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
งานวิจัยนี้ใช้เครื่องมือพื้นฐานทางจุลชีววิทยา ซึ่งภาควิชามีอยู่พร้อมแล้ว
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
เสนองานวิจัยเรื่อง Enmeration of Bacteriophage by Drop Plate Method ในการประชุมวิชาการ Third Asia-Pacific Conference on Agriculture Biotechnology: 10-15 November 1996, Hua Hin, Thailand และจะเสนอผลงานวิจัยเรื่อง Total Plate Count Determinations of Food Samples by Drop Plate Method ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากคณะวิทยาศาสตร์ให้ไปเสนอผลงานวิจัยนี้ไปแล้ว