1. ชื่อหน่วยวิจัย

แพลงก์ตอนพืช และคุณภาพน้ำ

Phytoplankton and Water Quality

ภาควิชา : ชีววิทยา

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

1. ผศ.ดร. ศิริเพ็ญ ตรัยไชยาพร

ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย

2. ดร. พันทวี มาไพโรจน์

3. อ. ฉัตรชัย กิติพรชัย

4. อ. ธนียา เจติยานุกรกุล

สมาชิก

สมาชิก

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

แพลงก์ตอนพืชมีความสำคัญในระบบนิเวศอย่างมากควบคู่กับคุณภาพน้ำโดยทั่วไป เป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำตลอดถึงมลภาวะได้ จึงเป็นสิ่งน่าสนใจที่จะศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืช ตลอดถึงการนำแพลงก์ตอนพืชมาประยุกต์ใช้ในการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ การเกษตรกรรม และการใช้เป็นดัชนีชีวภาพ

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

1. ศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืช ควบคู่กับคุณภาพของแหล่งน้ำทางกายภาพและเคมี

2. เพาะเลี้ยงแพลงก์ตอนพืชเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปทางการประมง

3. การใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นดัชนีชีวภาพของแหล่งน้ำ

4. การใช้แพลงก์ตอนพืชในการบำบัดน้ำเสีย

5. การวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่

1. ตรวจสอบความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืช ควบคู่กับคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำในจังหวัดเชียงใหม่หลายแห่ง

2. การใช้แพลงก์ตอนพืชในการบำบัดน้ำเสียจากบ่อหมักกาซชีวภาพมูลสุกร และ น้ำกากส่าเหล้า

3. การสำรวจแพลงก์ตอนพืชในนาข้าวควบคู่กับคุณภาพน้ำทางเคมี

4. รับตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

6. อุปกรณ์ / เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว

- เครื่องแก้ว

- Spectrophotometer

- pH meter

- Hot air oven

- Hot plate

- Centrifuge

- ตาชั่งละเอียด

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

- พยายามใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นดัชนีบ่งบอกคุณภาพ

- สามารถใช้แพลงก์ตอนพืชในการลดมลภาวะของน้ำเสียได้ระดับหนึ่ง

- มีข้อมูลความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชควบคู่กับคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำ ในจังหวัดเชียงใหม่

//การวิจัย / ห้องปฏิบัติการวิจัยและหน่วยวิจัย