1. ชื่อหน่วยวิจัย

หน่วยติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Environmental Quality Monitoring Unit

ภาควิชา : ชีววิทยา

2. สมาชิก : ประกอบด้วย

1. อาจารย์วีระศักดิ์ รุ่งเรืองวงศ์

ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย

2. นายสุทัศน์ สุภาษี

สมาชิก

3. หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยในปัจจุบัน ปัญหาทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากการเพิ่มของประชากร การพัฒนาเทคโนโลยีและทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อเร่งการผลิตให้เพียงพอแก่ความต้องการของมนุษย์ อันส่งผลให้มีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างมากมายในกระบวนการผลิต และได้มีการปล่อยของเสียในรูปต่าง ๆ ออกมาสู่สิ่งแวดล้อม จนทำให้เกิดปัญหาทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมและร่อยหร่อลงไป อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหามลพิษในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางน้ำ อากาศ เสียงแ ละอื่น ๆ ซึ่งได้ส่งผลกระทบมาถึงสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ และมนุษย์ในลำดับต่อมา

จากสภาพปัญหาข้างต้น ได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวม ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ ดังนั้น จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จึงขอจัดตั้งหน่วยวิจัย “หน่วยติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม” ขึ้น เพื่อทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำดิน ตะกอนดินในแม่น้ำ รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำประเภทแม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ และพืชที่ชุ่มน้ำอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม โดยจะมองในแง่ของความสัมพันธ์ของการใช้ประโยชน์ที่ดินบนชายฝั่งที่มีผลกระทบถึงองค์ประกอบที่อยู่ในแหล่งน้ำ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ทางด้านการเรียนการสอน เผยแพร่แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อนำไปใช้พิจารณาวางแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสร้างความตระหนักแก่ประชาชนต่อไป

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

1. เพื่อทำการวิจัยและติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำต่าง ๆ พื้นที่ชุ่มน้ำ ดิน ตะกอนดินในแม่น้ำ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั้งที่มนุษย์นำมาบริโภค และใช้ประโยชน์อื่น ๆ ศึกษาถึงปริมาณการสะสมของสารมลพิษ และความเสี่ยงที่จะนำมาบริโภค ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

2. เพื่อทำการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำและสิ่งมีชีวิตในน้ำ เพื่อจำแนกแหล่งมลพิษ และเสนอแผนการจัดการเบื้องต้น

5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่

5.1 การศึกษาเบื้องต้น การสะสมสารโลหะในน้ำ ตะกอนดิน พืชน้ำ และหอยฝาเดียวและสองฝาบางชนิด บริเวณลำน้ำแม่กวง ภายใต้ความร่วมมือกับโครงการศูนย์วิจัยน้ำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (กำลังอยู่ในระหว่างการเขียนผลการวิจัย)

5.2 การศึกษา การสะสมของสารโลหะหนักบางชนิดในน้ำ ตะกอนดินพืชน้ำ และหอยฝาเดียวบางชนิด บริเวณลำน้ำแม่กวง

5.3 การศึกษาความสัมพันธ์ของการสะสมสารโลหะหนักบางชนิดที่มีต่อขนาดและอวัยวะบางส่วนในหอยฝาเดียวและหอยสองฝาบางชนิด บริเวณลำน้ำแม่กวงและแม่คาว

6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว และที่สามารถจัดหาได้

6.1 เครื่องมือวัดสภาพแวดล้อมในสนาม

- Altimeter

- Oxygen meter

- pH meter

- Conductivity meter

- Spectrophotometer ชุดสนาม

- Secchi’s disc

6.2 อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างในสนาม

- Water sampler

- Ekman’s grab

- อุปกรณ์เก็บตัวอย่างหอย

- ภาชนะบรรจุ เช่น ขวดเก็บน้ำ ถุงพลาสติกสำหรับเก็บตัวอย่าง

6.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ

- มีดผ่าตัด

- ถุงมือ

- forcep

- ตู้เย็น

- Incubator

- ตู้อบตัวอย่าง

- อุปกรณ์ร่อนตัวอย่าง (ตะแกรงร่อน)

- อุปกรณ์บดตัวอย่าง

- Atomic Absorption Spectrophotometer

6.4 วัสดุเครื่องแก้วและสารเคมี

- ภาชนะบรรจุ เช่น ขวดเก็บน้ำ ขวดเก็บตัวอย่างและถุงพลาสติกเก็บตัวอย่าง

- เครื่องแก้ว

- Flask

- Beaker

- Sample tube

- อื่น ๆ

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน

7.1 โครงการการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำของแม่น้ำปิงและกวง ในปี พ.ศ.2538 และ พ.ศ.2539 โดยร่วมวิจัยและเป็นคณะทำงานกับศูนย์วิจัยน้ำ คณะวิทยาศาสตร์

7.2 รายงานการวิจัยการศึกษาและวิเคราะห์คุณภาพน้ำแม่น้ำปิงในรอบ 1 ปี ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2539 (ผลงานดังในเอกสารแนบ)

///การวิจัย / ห้องปฏิบัติการวิจัยและหน่วยวิจัย