1. ชื่อหน่วยวิจัย |
ไบรโอไฟต์
BRYOPHYTES |
ภาควิชา : ชีววิทยา
2. สมาชิก : ประกอบด้วย
1. อาจารย์ ดร. กันยา สันทนะโชติ |
ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย |
2. อาจารย์ สมใจ รัตนยันต์ |
สมาชิก |
3. หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยในปัจจุบันประเทศไทย ยังขาดขัอมูลที่สมบูรณ์ในด้านจำนวนชนิดความหลากหลายและระบบนิเวศของพืชชั้นต่ำโดยเฉพาะกลุ่มมอสส์และลิเวอร์เวิร์ท ซึ่งพบมากในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่จึงสมควรจะได้มีการสำรวจศึกษา และเก็บรวบรวมตัวอย่างพืชกลุ่มนี้ไว้เป็นฐานข้อมูลประจำท้องถิ่นในเชิงทรัพยากรธรรมชาติ ของมูลที่ได้จากการสำรวจนี้ นอกจากจะมีประโยชน์ในเชิงวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์แล้ว ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็น
ประโยชน์ในสาขาวิชาอื่นๆ ได้เช่น การศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพราะมอสส์และลิเวอร์เวิร์ทจัดเป็นดัชนีชีวภาพที่สามารถบ่งบอกให้ทราบถึงสภาพนิเวศและคุณภาพของสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. เก็บรวบรวมข้อมูลทางพฤกษาศาสตร์และนิเวศวิทยาของพืชไบรโอไฟต์
2. จัดเก็บตัวอย่างพืชไบรโอไฟต์เป็นหมวดหมู่ตามหลักอนุกรมวิธานเพื่อเป็นแหล่งข้อมูล - อ้างอิง ของท้องถิ่นในภาคเหนือ
3. หาแนวทางอนุรักษ์และรักษาสภาพสมดุลตามธรรมชาติของพืชไบรโอไฟต์
4. เผยแพร่ความรู้ สร้างจิตสำนึกให้เยาวชนและบุคคลทั้วไป มีความเข้าใจสนใจ และรู้จัดพืชไบโอไฟต์
5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
การสำรวจและเก็บตัวอย่างพืชกลุ่มมอสส์และสิเวอร์เวิร์ทในจังหวัดเชียงใหม่
ระยะที่ 1 (2540-2541) สำรวจและเก็บตัวอย่างพืชกลุ่มมอสส์บริเวณดอยสุเทพ-ปุย
6. อุปกรณ์/เตรื่องมือวิจัยที่มีอยู่แล้ว
- กล้องจุลทรรศน์สามมิติวาดภาพและถ่ายรูปได้ จำนวน 1 กล้อง (ครุภัณฑ์ชิ้นนี้กำลังจะได้ในปีงบประมาณ 2540 นี้)
- กล้องจุลทรรศน์เลนส์ประกอบ จำนวน 1 กล้อง
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากโครงการวิจัยนี้เป็นโครงการวิจัยในระยะจัดตั้งจึงไม่มีผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยซึ่งสามารถนำเสนอในขณะนี้ได้