1. ชื่อหน่วยวิจัย |
หน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี
Astronomical Photometry Research Unit |
ภาควิชา : ฟิสิกส์
2. สมาชิก : ประกอบด้วย
(1) นายบุญรักษา สุนทรธรรม |
ผู้ประสานงานหน่วยวิจัย |
(2) นายสุมิตร นิภารักษ์ (3) มล.อนิวรรต สุขสวัสดิ์ (4) นายมาโนช นาคสาทา (5) นายวิม เหนือเพ็ง (6) น.ส.นวลวรรณ สงวนศักดิ์ (7) นายณรงค์ เปมะวิภาต |
สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก |
3. หลักการและเหตุผล
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตั้งหอดูดาวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2520 โดยมีอุปกรณ์หลักคือ กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสงชนิดคาสซิเกรน ขนาดเส้นผ่าาาศูนย์กลาง 16 นิ้ว (40 เซนติเมตร) ทางกลุ่มวิจัยดาราศาสตร์ ได้พยายามพัฒนาเทคนิคและ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อสามารถใช้กล้องดูดาวดังกล่าวในการวิจัยได้ งานวิจัยที่ได้ดำเนินไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถึงปัจจุบันนั้น มี 2 ลักษณะ คือ งานวิจัยของคณาจารย์ในกลุ่มดาราศาสตร์ โดยขอรับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนต่าง ๆ ในการวิจัย และงานวิจัยของนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
งานวิจัยหลักที่ดำเนินการในขณะนี้ก็คือ การใช้ระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี ร่วมกับกล้องดูดาว ในการวิเคราะห์คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของวัตถุท้องฟ้าชนิดต่าง ๆ เช่น ดาวคู่ กระจุกดาว ดาวหาง สารที่อยู่ระหว่างดาว เป็นต้น งานวิจัยทางด้านโฟโตเมตรีนี้ได้รับการพัฒนาโดยกลุ่มดาราศาสตร์อย่างต่อเนื่อง มีการจัดหากล้องดูดาวขนาดต่าง ๆ เครื่องวัดที่ทันสมัย ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุม สัญญาณและเก็บข้อมูล ตลอดจนการพัฒนาเทคนิคทันสมัย มาใช้ในการวิจัยทางโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดตั้งหน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี ทำให้เห็นทิศทางของงานวิจัยในแขนงดาราศาสตร์ ของภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในอันที่จะนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในศาสตร์แขนงนี้ การสนับสนุนให้หน่วยวิจัยดาราศาสตร์โฟโตเมตรี สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพของคณะวิทยาศาสตร์ จึงนับว่าเป็นสิ่งที่ทางกลุ่มดาราศาสตร์มีความต้องการอย่างยิ่ง
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เพื่อรวมกลุ่มนักวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ที่มีทักษะความชำนาญทางด้านการใช้เทคนิคทางโฟโตเมตรี ในการศึกษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของวัตถุท้องฟ้าชนิดต่าง ๆ ตลอดทั้งการร่วมกันวิจัยและพัฒนาเพื่อให้งานดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ
5. งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่
งานวิจัยหลักที่ดำเนินการอยู่ ได้แก่ การใช้เทคนิคทางโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี ศึกษาวัตถุท้องฟ้า โดยมุ่งเน้น ดาวคู่อุปราคา (Eclipsing Binaries) ซึ่งจะศึกษาลักษณะทางกายภาพ กราฟแสง องค์ประกอบวงโคจรของดาวคู่เหล่านี้ และขณะนี้ทางกลุ่มวิจัยดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำความร่วมมือกับกลุ่มวิจัยจาก Yunnan Observatory ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยดาวคู่ดังกล่าวนี้ กลุ่มดาราศาสตร์ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและ State Science and Technology Comission of China ให้มีโครงการวิจัยร่วมกันระหว่างหอดูดาวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ Beijing Astronomical Observatory โดยมุ่งเน้นการใช้เทคนิคทางโฟโตเมตรีและสเปกโทรสโคปี เพื่อศึกษาระบบดาวคู่ RS CVn
6. อุปกรณ์/เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่แล้ว
1. กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง ชนิดคาสซิเกรน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว
2. กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง ชนิดชมิดท์-คาสซิเกรน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 11 นิ้ว และ 8 นิ้ว
3. ระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตมิเตอร์ แบบหลอดโฟโตมัลติพลายเออร์ของบริษัท Thorn EMI Co. Ltd. พร้อม ระบบแผ่นกรองแสงมาตราฐาน U, B, V
4. ระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตมิเตอร์ แบบโซลิดสเตทของบริษัท Optec Inc. พร้อมระบบแผ่นกรองแสงมาตราฐาน U, B, V, R, I
5. ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมและบันทึกสัญญาณจากระบบโฟโตอิเลกตริก โฟโตมิเตอร์
6. ระบบ CCD ที่ใช้ในการควบคุมระบบติดตามดาวและถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าโดยคอมพิวเตอร์
-Photometrics
-Compuscope
7. ระบบการติดต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
1. โครงการวิจัยและการดำเนินการ
ผลงานวิจัยอันเนื่องมาจากความร่วมมือทางด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ Yunnan Observatory ได้นำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติทางดาราศาสตร์ Third Pacific Rim Conference on Recent Developments on Binary Star Research ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับสมาคมดาราศาสตร์ไทย และ Universit of Nebraska ประเทศสหรัฐอเมริกา ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม 2538 - 2 พฤศจิกายน 2538 นอกจากนี้ผลงานวิจัยอันเนื่องจากความร่วมมือทางวิชาการด้านดาราศาสตร์ ยังได้รับตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ Astronomy and Astropphysics ในเดือน พ.ศ.2539
นอกจากนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Yunnan Observatory ยังได้ต่อสัญญาความร่วมมือทางงานวิจัยด้านดาราศาสตร์เป็นระยะที่ 2 (พ.ศ.2539-2543) โดยจะเน้นการวิจัยร่วมในหัวข้อ "Re-search on the Oscillations of Contact Binaries" ซึ่งในปี พ.ศ.2540 ได้สังเกตการณ์ระบบดาวคู่ GR Tau ไว้แล้ว และกำลังร่วมกันพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งวางแผนดำเนินการเพื่อการตีพิมพ์และเสนอผลงานวิจัยในระดับนานาชาติต่อไป
สำหรับงานวิจัยด้านดาราศาสตร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ Beijing Astronomical Observatory ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ National Natural Science Foundation of China เรื่อง "Photometric and Spectroscopic Research on RS Cvn Binary Systems with Starspots" ระหว่างปี พ.ศ.2537-2539 ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว และส่วนหนึ่งของงานวิจัยได้นำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ในการประชุม "UN/ESA Workshop on Basic Space Science" ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ในเดือนมกราคม พ.ศ.2539 และขณะนี้คณะผู้วิจัยกำลังดำเนินการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและ National Natural Science Foundation of China ต่อำป
ในระหว่างปี พ.ศ.2539-2540 หน่วยวิจัยดาราศาสตร์ได้สังเกตการณ์ โดยใช้เทคนิคทางซีซีดี โฟโตเมตรี ในช่วงความยาวคลื่น B และ V เพื่อบันทึกความสว่างและการเปลี่ยนตำแหน่งและโครงสร้างของดาวหางเฮล- บอพพ์ (Hale-Bopp Comet) ในช่วงต่อไป จะได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป
2. การดูงาน ฝึกอบรม หรือเสนอผลงานวิจัย ระหว่างปี พ.ศ.2539-2540
2.1 นายบุญรักษา สุนทรธรรม ประชุมเชิงปฎิบัติการด้านดาราศาสตร์ "UN/ESA Workshop on Basic Space Science from Small Telescope to Space Missions"และเสนอผลงานวิจัยเรื่อง "International Cooperation in RS Cvn Binary System Research" ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ระหว่างวันที่ 11-15 มกราคม 2539 : โดยทุนองค์การสหประชาชาติและองค์การอวกาศยุโรป
2.2 นายบุญรักษา สุนทรธรรม นายสุมิตร นิภารักษ์ ม.ล.อนิวรรต สุขสวัสดิ์ นายวิม เหนือเพ็ง นายณรงค์ มะวิภาต ไปดูงานและเจรจาโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านดาราศาสตร์ ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ดังนี้
(ก) Beijing Astronomical Observatory เมืองปักกิ่ง
(ข) Purple Mountain Observatory เมืองนานกิง
(ค) Nanjing Astronomical Instruments Research Center เมืองนานกิง
(ง) Shanghai Observatory เมืองเซี่ยงไฮ้
(จ) Yunnan Observatory เมืองคุนหมิง
ระหว่างวันที่ 2-16 พฤษภาคม 2539 โดยทุนกรมวิเทศสหการ และ State Science and Technology of China
2.3 น.ส.นวลวรรณ สงวนศักดิ์ (ด้วยทุนผู้จัดประชุม) และนายบุญรักษา สุนทรธรรม (ด้วยทุน International Astronomical Union) เข้าร่วมประชุมทางวิชาการ "The Seventh Asian-Pacific Regional Meeting of the IAU" โดย น.ส.นวลวรรณ สงวนศักดิ์ เสนอผลงานวิจัยเรื่อง "The Distribution of Thermal and Non-thermal Radio Continuum Emission in the Galactic Disk" และนายบุญรักษา สุนทรธรรม เสนอบทความทางวิชาการเรื่อง "Astronomy in Thailand : A Historical Perspective" ณ เมืองปูซาน ประเทศเกาหลี ระหว่างวัรนที่ 18-24 สิงหาคม 2539
2.4 นายบุญรักษา สุนทรธรรม เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ "The Mini Workshop of Astronomy Popularization : Activities in Observations and Popularization" และบรรยายบทความทางวิชาการ เรื่อง "Astronomy Popularization in Thailand" ณ เมืองโอคายามา ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม 2539 โดยทุนของ Besei Astronomical Observatory ประเทศญี่ปุ่น
3. ผลงานที่เสนอหรือเผยแพร่ในวารสารต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในช่วงปี 2535-2540
1. สุมิตร นิภารักษ์ และคณะ,"การศึกษาบริเวณกัมมันต์บนดวงอาทิตย์ โดยเทคนิคทางโฟโตอิเลกตริก โฟโตเมตรี", การประชุม วทท.18, ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ตุลาคม 2535
2. บุญรักษา สุนทรธรรม และมาโนช นาคสาทา, "การวิเคราะห์อุณหภูมิของดาวฤกษ์ที่มีชนิดสเปกตรัมช่วงถ่ายในแถบขบวนหลัก โดยเทคนิคทางโฟโตเมตรี", การประชุม วทท.18 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ตุลาคม 2535
3. SOONTHORNTHUM, B., "Aspects of Stellar Photometry in Thailand", IAU Colloquium 136: Stellar Photometry, Trinity College Dublin, IRELAND, 4-7 August 1992.
4. บุญรักษา สุนทรธรรม, สุมิตร นิภารักษ์, อนิวรรต สุขสวัสดิ์, มาโนช นาคสาทา และ วิม เหนือเพ็ง, "การวิเคราะห์สภาวะทางกายภาพของบรรยากาศดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิผิวต่ำ โดยเทคนิคทางโฟโตเมตรีในแถบอินฟราเรด", การประชุม วทท 19, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ตุลาคม 2536
5. สุมิตร นิภารักษ์, อนิวรรต สุขสวัสดิ์, มาโนช นาคสาทา, วิม เหนือเพ็ง และ บุญรักษา สุนทรธรรม, "การวิเคราะห์โชติมาตรปรากฏของดาวคู่ที่มองเห็นได้บางดวงในช่วงความยาวคลื่น วี อาร์ ไอ", การปรุม วทท 19,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ตุลาคม 2536
6. ระวี ภาวิไล, ขาว เหมือนวงศ์, บุญรักษา สุนทรธรรม, บรรยายสัมมนา, "สุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทย 24 ตุลาคม 2538 "การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20, 19-21 ตุลาคม 2537, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
7. สุมิตร นิภารักษ์, บุญรักษา สุนทรธรรม, หลิว ชิงเหยา, ยัง ยูหลาน, กู้ เชียงห่าว, อนิวรรต สุขสวัสดิ์, วิม เหนือเพ็ง, มาโนช นาคสาทา, 2537, "พารามิเตอร์ทางโฟโตเมตรีของดาวคู่อุปราคาแบบใกล้ชิด บี แอล-อี อาร์ ไอ" การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20, 19-21 ตุลาคม 2537,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8. Qingyao Liu, Soonthornthum, B., Shenghong Gu, Yulan Yang, Niparugs, S., Sooksawat, A., Naksata, M. and Bi Wang, "BL ERIDANI : An Unstable W UMa System with Spotted Components : Third Pacific Rim Conference on Recent Developments on Binary Stars Research, Chiang Mai, Thailand, October 26-November 2, 1995.
9. Soonthornthum, B., "Astronomy in Thailand : Third Pacific Rim Conference on Recent Developments on Binary Stars Research, Chiang Mai, Thailand, October 26- November 2, 1995.
10. N. Sanguansak and J.L. Osborne, "The Distribution Models of Thermal and Non-Thermal Radio Continuum Emission in the Galactic Disk", Journal of the Korean Astronomical Society, 29 : S169-S170, 1996.
11. B. Soonthornthum, "Astronomy Popularization in Thailand", Proceedings of the Second Mini-Workshop : Activities in Popularization and Observations, Besei Astronomical Observatory, pp 3-12, August 1996.
12. Qingyao Liu, B. Soonthornthum, Yulan Yang, Shenghong Gu, S. Niparugs, M.L. Aniwat Sooksawat, Bi Wang and m. Naksata, "BL Eridani : An Unstable W Ursae Majoris system with spotted components" , Astron. Astrophys. Suppl. Ser 118, 453-459 (1996.)
13. B. Soonthornthum, "International Cooperation in RS Cvn Binary System Research", UN/ESA Workshop on Basic Space Science, Colombo, Sri Lanka (1996.)
4. อื่นๆ
หน่วยวิจัยดาราศาสตร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามหอดูดาวของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า "หอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2539 และทรงเสด็จฯ เปิดป้ายหอดูดาวและตรวจโครงการก่อนสร้างกล้องดูดาวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 24 นิ้ว ณ หอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 ซึ่งชื่อหอดูดาวจะได้รับการบันทึกในทำเนียบหอดูดาวสากลจาก International Astronomical Union ต่อไป
///การวิจัย / ห้องปฏิบัติการวิจัยและหน่วยวิจัย