1. ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย |
เคมีนิวเคลียร์และเรดิโอเคมี
Nuclear and Radiochemistry |
ภาควิชา : เคมี
2. สมาชิก : ประกอบด้วย
1. รศ. ดร. เกตุ กรุดพันธ์ |
ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการวิจัย |
2. รศ. ดร. อุดม ศรีโยธา 3. ผศ. ดร. อรอนงค์ ปัญโญ 4. ผศง ดร. อนันต์เสวก เหว่ซึ่งเจริญ 5. ผศง ดร. เรืองศรี วัฒเนสก์ |
ที่ปรึกษา |
3. หลักการและเหตุผล
ได้มีการศึกษาพัฒนาเกี่ยวกับการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีโครงการเกี่ยวกับการเตรียมการในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ทั้งนี้นอกจากมีการนำรังสีมาใช้ประโยชน์ในการพลังงานแล้ว ยังมีการประยุกต์ใช้รังสีต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง รวมถึง การศึกษาสารกัมมันตรังสีในสิ่งแวดล้อมและการนำเทคนิคทางเคมีนิวเคลียร์และเรดิโอเคมี ในการศึกษาทางสิ่งแวดล้อมด้วย การดำเนินการในการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางด้านนี้ที่ภาควิชาเคมี ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อประยุกต์เทคนิคทางนิวเคลียร์และเรดิโอเคมีในประเทศไทย เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงขอจัดตั้งหน่วยวิจัยขึ้น
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. เพื่อวิจัยพัฒนาเทคนิคทางด้านนิวเคลียร์และเรดิโอเคมี รวมถึงเทคนิคที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อวิจัยในการปรับปรุงพัฒนาและประยุกต์เทคนิคทางด้านนิวเคลียร์และเรดิโอเคมี รวมถึงเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยด้านอื่น ๆ เช่น การศึกษาสิ่งแวดล้อม เช่นการศึกษาโลหะหนักที่เกี่ยวข้องทางการเกษตร การศึกษาคุณภาพของน้ำและสิ่งแวดล้อมเป็นต้น
3. เพื่อวิจัยในการปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติการทางด้านนิวเคลียร์และเรดิโอเคมีและเทคนิคที่เกี่ยวข้อง โดยใช้วัสดุและอุปกรณ์ราคาถูกเหมาะสมกับสภาวะของประเทศไทย
4. เพื่อถ่ายทอดวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์และเรดิโอเคมี รวมถึงเทคนิคที่เกี่ยวข้อง เช่นการจัดการฝึกอบรม
5. งานวิจัยหลักที่กำลังดำเนินการอยู่
1. การศึกษาทาง Tracer Technique เช่นการประยุกต์ Tracer Technique กับ Flow Injnection Analysis
2. การศึกษา Extractive Liquid Scintilation Counting
3. การวิเคราะห์ Neutron Activation Analysis
4. การวิเคราะห์ X - ray Fluorescence Techniques
5. Low Cost Instrumentation
6. การศึกษาวิจัยเทคนิคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
6. อุปกรณ์ / เครื่องมือวิจัยหลักที่มีอยู่
1. Flow Through Radiometric Detector
2. Si (Li) - Detector 1 ชุด
3. MCA 2 ชุด
4. Cf-252 Neutron Source
5. Monitors แบบต่าง ๆ
6. X-ray tube & X - ray Isotope Source
7. Personal Computers
8. Nal (Tl) Counters
9. Scalers / Rate Meters
10. Liquid Scintillation Counter
11. Flow Injection Analyzer
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยจนถึงปัจจุบัน
- ได้ทำการศึกษาทางด้านเครื่องมือและการประยุกต์ได้มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Analyst ในปี 1996 จำนวน 1 เรื่อง และได้เสนอผลงานในการประชุมวิชาการนานาชาติจำนวน 3 เรื่อง รายงานการวิจัยในประเทศจำนวน 10 เรื่อง อนึ่งผู้ประสานงานของกลุ่ม (รศ. ดร. เกตุ กรุดพันธ์) ได้รับเชิญเป็น referee ในการ review papers ของ journals ได้แก่ Analytica Chemica Acta และ Seperation Science and Technology.
- ได้ทำการประยุกต์ Tracer Technique เข้ากับระบบ FIA ดังในผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ( Analytica Chemica Acta ) 2 เรื่อง
- ได้ศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องตามข้อ 4 และ ข้อ 5 ข้างต้น โดยได้เผยแพร่งานทางวิชาการในช่วงปี 2531 ถึง ปัจจุบัน ดังนี้
(1) วารสารนานาชาติ 10 เรื่อง
(2) การประชุมวิชาการนานาชาติ 12 เรื่อง
(3) การประชุมระดับชาติ 50 เรื่อง
(4) มีส่วนร่วมในการเขียน internationa text / monograph 6 เล่ม
(5) มีส่วนร่วมในการเขียนตำราระดับประเทศ 5 เล่ม
- มีความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศ เช่น ที่ประเทศเยอรมนี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ฯลฯ โดยปัจจุบันได้มีโครงการ Ph.D. program กับ Karlsruhe Research Center, ประเทศเยอรมนี โดยการสนับสนุนบางส่วนจาก DAAD ทั้งนี้นักศึกษาปริญญาเอกที่เกี่ยวข้องกับโครงการได้สำเร็จการศึกษาไปแล้ว 2 คน (ดร.พูนศักดิ์ กมลโชติ และดร.พลยุทธ ศุขสมิติ) และนักศึกษาปริญญาเอก นายจรูญ จักร์มุณี ในปัจจุบันได้ทุนช่วงสั้น(6 เดือน) โดยการสนับสนุนของ DAAD เพื่อทำวิจัยที่สถาบันเดียวกัน
นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก Prof. G.D. Christain และ Prof. Ruzicka (ทั้งสองท่านเป็นผู้ที่นักวิจัยทาง FIA และเคมีวิเคราะห์ยอมรับว่าอยู่ใน 5 อันดับแรกของโลก) เป็น Cosupervisor สำหรับการรับนักศึกษาปริญญาเอกในโครงการกาญจนาภิเษก
- นักศึกษาปริญญาโท (น.ส.ปิยะเนคร ศรีธาราธิคุณ) ได้รับทุนจากทบวง ฯ เพื่อไปทำวิจัยช่วงสั้น (4 เดือน กันยายน 2538 - มกราคม 2539) ที่ Liverpool John Moores University UK. และ (น.ส. อรวรรณ ถือเงิน) ได้รับทุนได้รับทุนจากทบวงฯ เพื่อไปทำวิจัยช่วงสั้น ( 4 สิงหาคม- พฤศจิกายน 2539) ที่ Monash University , Australia ในปีที่ผ่านมา(พ.ศ. 2540 น.ส. ศศิพร คุนาพงษ์กิติ และ น.ส. มนสา ณ พัทลุง ได้รับทุนจากทบวงฯ เพื่อไปทำวิจัยช่วงสั้นที่สถาบันทั้งสองด้วย
- สมาชิกของกลุ่มได้รับทุนพัฒนานักวิจัย(เมธีวิจัย) ของ สกว. (2538-2540)
- ได้จัดการฝึกอบรมระดับชาติทางด้านนี้ โดยการสนับสนุนของรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) 5 ครั้ง โดยครั้งหลังสุด เมื่อวันที่ 29 มกราคม - 16 กุมภาพันธ์ 2539
- IAEA ได้ขอให้กลุ่มวิจัยจัด Regional Training Course ในปี พ.ศ. 2540 ด้วย
- ได้ให้การฝึกอบรมแก่พม่า โดยการร้องขอจาก IAEA แล้ว จำนวน 5 คน