การจัดการศึกษา

การพัฒนาคุณภาพการศึกษา

การประชุม สัมมนา และการมาเยือนของผู้เชี่ยวชาญ

คณะวิทยาศาสตร์สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการไปร่วมประชุม ฝึกอบรม สัมมนาของคณาจารย์และบุคลากรช่วยวิชาการอย่างสม่ำเสมอ โดยกิจกรรมเหล่านี้มีทั้งที่คณะวิทยาศาสตร์ดำเนินการเอง และการสนับสนุนคณาจารย์และบุคลากรไปร่วมกับองค์กรภายนอกทั้งในและต่างประเทศ ดังรายละเอียดปรากฏในภาคผนวกที่ 2 และ 3

นอกจากนั้นยังได้มีผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศมาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมาก (ดูรายละเอียดในความร่วมมือกับนานาชาติ) บุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่คณะวิทยาศาสตร์ได้มีโอกาสต้อนรับในปีที่ผ่านมาคือ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล Prof. David M. Lee ซึ่งได้มาบรรยายในหัวข้อเรื่อง "ของไหลยิ่งยวด" ณ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์

บริการห้องสมุด

นับจากเดือนมีนาคม 2541 ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ อาคารวิทยาศาสตร์ 30 ปี (บริเวณชั้น 2) บนพื้นที่ 765 ตารางเมตร มีการจัดระบบการให้บริการในรูปแบบห้องสมุดอัตโนมัติมากขึ้น กล่าวคือการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความก้าวหน้าและทันสมัย การติดตั้งระบบเครือข่ายภายในห้องสมุดให้สามารถเชื่อมโยงการบริการและสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลก การให้บริการระบบสารสนเทศภายในคณะผ่านระบบ MISS การบริการเครือข่าย Internet กว่า 12 จุดบริการ (ดูรายละเอียดในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ) อีกทั้งการพัฒนาการให้บริการด้านทรัพยากรห้องสมุดโดยระบบการยืม-คืนเอกสารด้วยบัตรบาร์โค้ด อันเป็นระบบบริการยืม-คืน Online ของห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ร่วมโครงการห้องสมุดนำร่องกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานบริการโสตทัศนศึกษา

งานบริการโสตทัศนศึกษา มีภาระหน้าที่ส่งเสริมวิชาการ ทั้งการให้บริการยืมอุปกรณ์สื่อการสอน การจัดทำสื่อการสอน และงานบริการทั้วไป อุปกรณ์สื่อการสอน นอกจากเครื่องเล่นวีดีโอพร้อมทีวี เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ปัจจุบันหน่วยโสตทัศนศึกษายังมีเครื่องสร้างภาพจากสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Desktop Projector) ซึ่งใช้ได้ทั้ง PC และ MAC พร้อมกับต่อสัญญาณวีดีโอได้โดยตรง เพื่อฉายภาพขึ้นจอที่ให้ภาพใหญ่ที่สุด 200 นิ้ว และหน่วยโสตฯ สามารถให้บริการทำสไลด์ในคอมพิวเตอร์ทั้งโปรแกรม POERT POINT ใน PC และโปรแกรม PERSUASION ใน MAC พร้อมกับถ่ายภาพออกมาเป็นสไลด์สี นอกจากนี้หน่วยโสตทัศนศึกษายังบริการรับทำ Home Page ให้แก่หน่วยงานอื่น ๆ ด้วยโปรแกรม Front Page 97 และ HTML สำหรับหน่วยงานที่ต้องการทำ Home Page ของตัวเอง

บริการด้านโรงพิมพ์

งานบริการด้านพิมพ์เอกสารมีหน้าที่รับผิดชอบหลักคือ การผลิตเอกสาร ตำราทางด้านวิชาการ และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนของคณาจารย์ภายในคณะวิทยาศาสตร์ และให้บริการด้านการพิมพ์กับหน่วยงานภายนอกคณะวิทยาศาสตร์อีกด้วย โดยมีเครื่องและอุปกรณ์ในการพิมพ์ที่ทันสมัย งานพิมพ์ที่ได้ผลิตผ่านมาแล้ว อาทิ การจัดทำหนังสือเป็นรูปเล่ม การพิมพ์ปก การเย็บเล่มหนังสือ แผ่นพับ วุฒิบัตร โปสเตอร์ ปฏิทินการศึกษา จดหมายข่าววิทยานิพนธ์ วารสารคณะวิทยาศาสตร์ จุลสารวิทยาสาร รวมทั้งงานด้านการจัดต้นฉบับออกเลเซอร์ที่ใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน

การจัดทำวารสารและจุลสาร

คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดทำวารสารคณะวิทยาศาสตร์ (JOURNAL OF THE SCIENCE FACULTY) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นวารสารเผยแพร่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ มีกำหนดการตีพิมพ์ทุก 6 เดือน วารสารดังกล่าวถือเป็นเวทีหนึ่งของนักวิจัยทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่จะได้ใช้เผยแพร่ผลงานวิจัย วารสารฉบับดังกล่าวได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยได้บรรจุไว้ในฐานข้อมูล Chemical Abstracts

นอกจากนั้นคณะฯยังได้จัดทำจุลสาร "วิทยาสาร" เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการของคณะฯแก่บุคคลทั่วไป โดยมีกำหนดออกทุก 2 เดือน และยังได้บรรจุจุลสารดังกล่าวใน web site ของคณะฯ ที่ www.science.cmu.ac.th

ทุนศึกษาต่อของคณาจารย์

ในปีงบประมาณ 2541 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับจัดสรรทุนเพื่อพัฒนาอาจารย์ในลักษณะของทุนการศึกษา รวมทั้งสิ้น 10 ทุน แยกตามแหล่งทุนได้ดังนี้

1. ทุนศึกษาต่อในประเทศ เนื่องจากปี 2541 เป็นช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทบวงฯมีมาตรการให้ชะลอการรับทุนโครงการพัฒนาอาจารย์ที่ศึกษาต่อต่างประเทศทุกสาขาและได้มีทุนโครงการขยายการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อลดค่าใช้จ่ายในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเปิดโอกาสให้อาจารย์ผู้รับทุนโครงการพัฒนาอาจารย์รับทุนศึกษาต่อในประเทศ ซึ่งมีอาจารย์ผู้รับทุนดังกล่าวศึกษาต่อในประเทศ จำนวน 5 ทุนและได้รับจัดสรรใหม่ จำนวน 1 ทุน ดังนี้

โครงการพัฒนาอาจารย์ฯ สาขาคณิตศาสตร์ 1 ทุน

โครงการพัฒนาอาจารย์ฯ สาขาอัญมณีและเครื่องประดับ 1 ทุน

โครงการพัฒนาอาจารย์ฯ สาขาวิทยาศาสตร์ 2 ทุน

โครงการพัฒนาอาจารย์ฯ สาขาคอมพิวเตอร์ 1 ทุน

โครงการพัฒนาอาจารย์วิทยาเขตสารสนเทศ

(สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์)

2. ทุนศึกษาต่อต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 4 ทุน

โครงการพัฒนาอาจารย์ฯ สาขาวิทยาศาสตร์ 1 ทุน

โครงการพัฒนาอาจารย์ฯ สาขาอัญมณีและเครื่องประดับ 1 ทุน

รัฐบาลบรูไน 1 ทุน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1 ทุน

กองทุนคณะวิทยาศาสตร์

คณะกรรมการบริหารกองทุนคณะวิทยาศาสตร์ชุดใหม่ ซึ่งมี ดร.กระหยิ่ม ศานต์ตระกูล เป็นประธาน ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อหารายได้สมทบกองทุนฯ ในรอบปี 2541 ดังต่อไปนี้

1. โครงการจัดจำหน่ายเทปเพลงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. โครงการ pre-entrance 2541 สายวิทยาศาสตร์

3. โครงการจัดจำหน่ายของที่ระลึก

4. โครงการเสริมความรู้และทักษะวิชาการทางวิทยาศาสตร์

5. โครงการจัดสัมมนาพิเศษ

นอกจากนี้ยังได้รับบริจาคจากผู้มีเมตตาจิตหลายท่าน ทำให้เงินกองทุนฯ เพิ่มจากปีที่ผ่านมา รวมเป็นเงิน 7.2 ล้านบาท

การจัดสรรดอกผลกองทุนประจำปี 2541 มีรายละเอียดดังนี้

1. ทุนอุดหนุนการศึกษานักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์

จำนวน 162,500.-บาท

2. ทุนสนับสนุนการพัฒนาคณาจารย์

จำนวน 139,000.-บาท

3.ทุนส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

จำนวน 139,000.-บาท

รวม

440,500.-บาท